รายละเอียดรายละเอียดของรายวิชา
สถานะ
Status
หลักสูตร
Academic Program
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Arts
สาขาวิชา
Field
สาขาวิชาสังคมศาสตร์
Social Sciences
วิชาเอก
Major
วิชาเอกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
Major in Sociology and Anthropology
หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.
2561
ภาค/ปีการศึกษา
Semester/Academic Year
2 / 2566
1. รหัส ชื่อรายวิชา/ชุดวิชา และจำนวนหน่วยกิต
Course Code and Number(s) of Credits
Course Code and Number(s) of Credits
2. ประเภทของรายวิชา/ชุดวิชา และหลักสูตร
Type of the Subject Course
Type of the Subject Course
3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอน
Course Coordinator and Lecturer
Course Coordinator and Lecturer
4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา/ชุดวิชา
Course learning outcomes-CLO
Course learning outcomes-CLO
5. คําอธิบายรายวิชา / ชุดวิชา
Description of Subject Course/Module
Description of Subject Course/Module
6. รูปแบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
Delivery mode and Learning management Method
Delivery mode and Learning management Method
7. แผนการจัดการเรียนรู้
Lesson plan
Lesson plan
สัปดาห์ที่ Week |
หัวข้อการสอน Teaching topics |
จํานวน ชั่วโมง Number of hours |
CLO |
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/ เอกสารและช่องทางการสอน Teaching and Learning Activities, Instructional Media/ Materials, and Teaching Channels |
|
---|---|---|---|---|---|
ทฤษฎี | ปฏิบัติ | ||||
1-2 |
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการใช้งานในการวิจัย 1. องค์ประกอบภายในระบบงานคอมพิวเตอร์ 2. KKU Account 3. การสร้างระบบความปลอดภัยในระบบข้อมูล 4. การสแกนไวรัสและป้องกันข้อมูล 5. พื้นที่การใช้ฐานข้อมูลเก็บงานข้อมูลร่วมกัน |
4 | 6 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นตามเนื้อหา 2) ปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษามีทักษะการใช้งานกับคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการข้อมูลวิจัย และสามารถนำ ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ . #แบบฝึกหัด : ให้นศ. จัดการระบบพื้นฐานสำหรับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนครั้งต่อไป ได้แก่ สร้างอีเมลภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัย การสร้างกลุ่มอีเมล การกำหนดพื้นที่ข้อมูล และการสร้างระบบความปลอดภัยให้กับข้อมูล เป็นต้น |
3-4 |
บทที่ 2 การใช้โปรแกรม MS Word เพื่อการวิจัย 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Microsoft Word 2. การเขียนหนังสือราชการ 3. การสร้างจดหมายเวียน 4. การจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
4 | 6 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม MS Word การเขียนหนังสือราชการ การสร้างจดหมายเวียน และการจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 2) ปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพิมพ์จดหมายราชการประเภทหนังสือภาย นอกและหนังสือภายใน เพื่อการประสานงานการวิจัยได้ ตลอดจนสามารถจัดรูปเล่มรายงานการวิจัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม . #แบบฝึกหัด : ให้นศ. ร่างจดหมายหนังสือติดต่อราชการ และบันทึกข้อความ (หนังสือภายนอกและหนังสือภายใน) ตามระเบียบงานสารบัญ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในห้องเรียน บรรยาย เรื่อง |
5 |
บทที่ 3 การใช้ฐานข้อมูลเพื่อสืบค้นข้อมูลวิจัย 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูลและการสืบค้น 2. กระบวนการและเทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ 3. การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลออนไลน์ |
2 | 3 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูลและการสืบค้น กระบวนการและเทคนิคการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ และแหล่งสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลออนไลน์ 2) ปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการสืบค้นข้อมูลเอกสารงานวิจัยจากฐานข้อมูล สำคัญ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยของตนเองได้อย่างเหมาะสม . #แบบฝึกหัด : ให้นศ. สืบค้นสารสนเทศ ที่เป็นบทความทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยมีคำสำคัญตามประเด็นปัจจุบันในสังคม หรือประเด็นการวิจัยของนักศึกษา |
6 |
บทที่ 4 การใช้โปรแกรมในการจัดระบบการอ้างอิงในงานวิจัย 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการระบบอ้างอิงในงานวิจัย 2. การจัดการระบบอ้างอิงในงานวิจัยด้วยโปรแกรม Zetero |
2 | 3 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการระบบอ้างอิงในงานวิจัย การจัดการระบบอ้างอิงในงานวิจัยด้วยโปรแกรม Zetero 2) ปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถจัดเก็บรายการบรรณานุกรมหรือเอกสาร อ้างอิงที่ได้จากการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันในรูปแบบของ Library ด้วยการใช้งานร่วมกับโปรแกรม Microsoft Word ได้ . #แบบฝึกหัด : ให้นศ. สืบค้นสารสนเทศที่เป็นเป็นบทความทั้งในระดับชาติและนานาชาติ แล้วนำมาจัดเก็บรายการเอกสาร อ้างอิง ด้วยโปรแกรม Zetero พร้อมสร้างรายการเอกสารอ้างอง ในรูปแบบ APA |
7-8 |
บทที่ 5 การใช้โปรแกรม Google Application เพื่อการจัดการงานวิจัย 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Google Application 2. การลงชื่อเข้าสู่ระบบโปรแกรม Google Application 3. การสร้างแบบสอบถามออนไลน์ โดยใช้ Google Form 4. การใช้ Google Workspace เพื่อสร้างใบประกาศนียบัตรออนไลน์ |
4 | 6 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมGoogle Application การลงชื่อเข้าสู่ระบบโปรแกรม Google Application การสร้างแบบสอบถามออนไลน์ โดยใช้ Google Form และการใช้ Google Workspace เพื่อสร้างใบประกาศนียบัตรออนไลน์ 2) ปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาสร้างฐานข้อมูลวิจัยและสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานวิจัยได้ ตลอดจนสามารถใช้โปรแกรม Google Form การสร้างแบบสอบถามออนไลน์ . #แบบฝึกหัด : ให้กลุ่มวิจัยร่วมกันสร้างฐานข้อมูลวิจัยและแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อจัด เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชา/คณะ |
9-10 |
บทที่ 6 การใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Microsoft Excel 2. การสร้างฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel 3. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel |
4 | 6 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม MS Excel การสร้างฐานข้อมูล ด้วยโปรแกรม MS Excel วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น และ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติขั้นสูง 2) ปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถสร้างฐานข้อมูลวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม MS Excel ได้อย่างเหมาะสมได้ . #แบบฝึกหัด : ให้ นศ. ใช้สูตรและฟังก์ชันเพื่อจัดกระทำการกับข้อมูล พร้อมวิเคราะห์สถิติเบื้องต้นและทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้สถิติหาความแตกต่าง |
11-12-13 |
บทที่ 7 การใช้โปแกรม Atlas ในการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพ - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ - โปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ - การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยโปรแกรม ATLAS.ti |
6 | 9 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยโปรแกรม ATLAS.ti 2) ปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้โปรแกรม ATLAS.ti ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และนำเสนอผลการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม . #แบบฝึกหัด : ให้ นศ. ทำงานกับโปรแกรม ATLAS.ti โดยสร้าง Codes ที่มีQuotation สร้าง Momos สร้าง Family และสร้าง Networks แล้วนำ Coding ดังกล่าวมาวาดเป็นแผนมโนทัศน์ (Concept Diagrams) ตามทฤษฎีและแนวคิดที่ตั้งไว้ |
14-15-16 |
บทที่ 8 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อในการนำเสนอข้อมูลการวิจัย 1. หลักการและเทคนิคการออกแบบเพื่อการนำเสนองานวิจัย 2. การนำเสนอข้อมูลวิจัยด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint 4. การนำเสนอข้อมูลวิจัยด้วยโปรแกรม Canva 3. การนำเสนอข้อมูลวิจัยด้วยโปรแกรม Google Studio |
6 | 9 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นหลักการและเทคนิคการออกแบบเพื่อการนำเสนองานวิจัย การนำเสนอข้อมูลวิจัยและการจัดทำ Infographic เพื่อนำเสนอข้อมูลวิจัย ด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint Canva และ Google Studio 2) ปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำ Infographic เพื่อนำเสนอข้อมูลวิจัยด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint Canva และ Google Studio . #แบบฝึกหัด : ให้นักศึกษานำผลการศึกษาจากแบบฝึกหัดในงานวิจัยรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยปริมาณ มานำเอกสารนำเสนองานที่เหมาะสมทั้งสามโปรแกรม ได้แก่ Microsoft PowerPoint Canva และ Google Studio |
รวมจำนวนชั่วโมง | 32 | 48 |
8. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
Course assessment
Course assessment
วิธีการประเมิน Assessment Method |
CLO |
สัดส่วนคะแนน Score breakdown |
หมายเหตุ Note |
---|---|---|---|
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน (ประเมินผลการสอนจากการเข้าชั้นเรียน และระยะเวลาการส่งงานแบบฝึกหัด) |
|
5 | |
การค้นคว้าด้วยตนเอง แบบฝึกหัด ในชั้นเรียน |
|
50 | |
สอบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (สอบกลางภาค) |
|
25 | |
สอบปลายภาค |
|
20 | |
สัดส่วนคะแนนรวม | 100 |
9. ตําราและเอกสารประกอบการสอน
Textbook and instructional materials
Textbook and instructional materials
ประเภทตำรา Type |
รายละเอียด Description |
ประเภทผู้แต่ง Author |
ไฟล์ File |
---|---|---|---|
หนังสือ หรือ ตำรา |
วณิชชา ณรงค์ชัย. (2567). เอกสารคำสอน รายวิชา HS423402 เทคนิคการจัดการข้อมูลวิจัย [RESEARCH DATA MANAGEMENT TECHNIQUE]. ขอนแก่น : กลุ่มวิชาเอกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. |
อาจารย์ภายในคณะ |
10. การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
ผลการเรียนรู้
Curriculum mapping
Curriculum mapping
1.1 | 1.2 | 1.3 | 1.4 | 2.1 | 2.2 | 2.3 | 2.4 | 3.1 | 3.2 | 4.1 | 4.2 | 4.3 | 4.4 | 5.1 | 5.2 | 5.3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายละเอียดของผลการเรียนรู้ของแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
1. ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3 มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
1.4 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและการแสดงออกซึ่งความมีคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
2. ด้านความรู้
2.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาสังคมศาสตร์
2.2 มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ/วิชาชีพในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
2.3 มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการใหม่ๆ ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทางสังคม
2.4 ตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับในสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และมีความหลากหลายในการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถค้นหา ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้และการแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนในการแก้ปัญหาการทำงานได้จริง
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีภาวะผู้นำ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม
4.2 รู้ความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและเข้าใจหลักการในสาขาวิชาสังคมสาสตร์เพื่อการปรับตัวในการทำงานและการอยู่รวมกับผู้อื่น
4.4 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนได้อย่างเหมาะสม
5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ได้
5.2 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในด้านวิชาการได้
5.3 ความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การใช้ภาษาในหลากหลายทักษะ ทั้งด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และสามารถถ่ายทอดสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ