รายละเอียดรายละเอียดของรายวิชา
สถานะ
Status
หลักสูตร
Academic Program
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Arts
สาขาวิชา
Field
สาขาวิชาสังคมศาสตร์
Social Sciences
วิชาเอก
Major
วิชาเอกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
Major in Sociology and Anthropology
หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.
2561
ภาค/ปีการศึกษา
Semester/Academic Year
2 / 2566
1. รหัส ชื่อรายวิชา/ชุดวิชา และจำนวนหน่วยกิต
Course Code and Number(s) of Credits
Course Code and Number(s) of Credits
2. ประเภทของรายวิชา/ชุดวิชา และหลักสูตร
Type of the Subject Course
Type of the Subject Course
3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอน
Course Coordinator and Lecturer
Course Coordinator and Lecturer
4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา/ชุดวิชา
Course learning outcomes-CLO
Course learning outcomes-CLO
5. คําอธิบายรายวิชา / ชุดวิชา
Description of Subject Course/Module
Description of Subject Course/Module
6. รูปแบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
Delivery mode and Learning management Method
Delivery mode and Learning management Method
7. แผนการจัดการเรียนรู้
Lesson plan
Lesson plan
สัปดาห์ที่ Week |
หัวข้อการสอน Teaching topics |
จํานวน ชั่วโมง Number of hours |
CLO |
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/ เอกสารและช่องทางการสอน Teaching and Learning Activities, Instructional Media/ Materials, and Teaching Channels |
|
---|---|---|---|---|---|
ทฤษฎี | ปฏิบัติ | ||||
1 |
บทที่ 1 การกำหนดประเด็นวิจัย 1) จริยธรรมของนักวิจัย 2) ประเภทของการวิจัย 3) ความสำคัญของประเด็นการวิจัย /วิธีการเลือกประเด็นปัญหาวิจัย /การแตกประเด็นวิจัย |
5 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นจริยธรรมของนักวิจัย ความสำคัญ และประเภทของการวิจัย 2) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกปรากฎการณ์ทางสังคมที่สามารถดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณได้ . #แบบฝึกหัด ให้นักศึกษาจับกลุ่ม และเลือกปรากฏการณ์ที่สนใจจะทำวิจัย พร้อมทำสืบค้นข้อมูลเพื่อแตกประเด็นวิจัย |
|
2 |
บทที่ 2 การพัฒนากรอบแนวคิดวิจัย 1) ความสำคัญ/ประโยชน์ของกรอบแนวคิด 2) การทบทวนแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการพัฒนากรอบแนวคิด 3) รูปแบบของกรอบแนวคิดวิจัย/ สมมุติฐานการวิจัยสำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ |
5 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นความสำคัญของกรอบแนวคิด/ที่มาของกรอบแนวคิด และการตั้งสมมติฐานการวิจัยเชิงปริมาณ 2)ใช้กรณีตัวอย่าง : กรอบแนวคิดของงานวิจัยอื่นๆ เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของกรอบแนวคิด 3) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถตั้งสมมติฐานการวิจัยเชิงปริมาณได้อย่างเหมาะสม . #แบบฝึกหัด ให้กลุ่มวิจัยร่วมกันสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาสนับสนุนกรอบแนวคิดของกลุ่ม และฝึกตั้งสมมุติฐานการวิจัยเชิงปริมาณ พัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยสังคมศาสตร์ |
|
3 |
บทที่ 3 การออกแบบการวิจัย - หลักสำคัญของการออกแบบการวิจัยทางสังคมศาสตร์ - ประเภทของแบบวิจัย สำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ |
5 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นแนวทางการออกแบบการวิจัยที่ดี 2) ใช้ตัวอย่างแบบการวิจัยของงานวิจัยจำนวนหนึ่งให้นักศึกษาทำวิเคราะห์ และนำเสนอผลการวิเคราะห์ 3) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณที่นักสังคมศาสตร์ใช้ . #แบบฝึกหัด ให้กลุ่มวิจัยฝึกออกแบบการวิจัย และนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยน |
|
4 |
บทที่ 4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1)หน่วยวิเคราะห์ 2)ขนาดตัวอย่าง 3)แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง |
5 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นความจำเป็นของการสุ่มตัวอย่าง/วิธีการหาขนาดตัวอย่าง 2) ใช้ตัวอย่างแบบการวิจัยของงานวิจัย การสืบค้นข้อมูลเพื่อหาข้อมูลสถิติอ้างอิงการกำหนดขนาดตัวอย่างและนำมาใช้ในการคำนวณจำนวนตัวอย่าง 3) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายวิธีการสุ่มตัวอย่างได้ถูกต้อง . #แบบฝึกหัด ให้กลุ่มวิจัยฝึกกำหนดหน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมทำดำเนินการกำหนดขนาดตัวอย่างและออกแบบการสุ่มตัวอย่าง พร้อมนำเสนอ |
|
5 |
บทที่ 5 การวัดระดับตัวแปร -ประเภทของการวัดตัวแปร - การกำหนดระดับการวัดตัวแปร - ตัวชี้วัดตัวแปร |
5 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นประเภทของการวัดตัวแปร การกำหนดระดับการวัดตัวแปร และตัวชี้วัด 2) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความแตกต่างของการวัดแต่ละระดับได้ . #แบบฝึกหัด ให้กลุ่มวิจัยนำตัวแปรจากกรอบแนวคิดวิจัยของกลุ่ม มากำหนดเป็น Concept ตัวแปร และตัวชี้วัด เพื่อพิจารณาระดับการวัดตัวแปร และฝึกสร้างตารางการวัดตัวแปร |
|
6 |
บทที่ 6 เครื่องมือวิจัยของการวิจัยเชิงปริมาณ (การสร้างเครื่องมือในการวิจัยสังคมศาสตร์) 1) แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์:ข้อดี/ข้อด้อย 2) แบบวัดทัศนคติ – ลักษณะสำคัญ 3) ค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ ค่าความยากง่ายและอำนาจจำแนกของข้อคำถามที่เป็นแบบวัดความรู้ความเข้าใจ |
5 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นการสร้างเครื่องมือในการวิจัยสังคมศาสตร์ 2) ตัวอย่างการแปลงความคิดรวบยอดให้เป็นตัวแปร และ การแปลงตัวแปร ไปสู่ตัวชี้วัด 3) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถสร้างเครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามได้อย่างถูกต้อง . #แบบฝึกหัด ให้กลุ่มวิจัยฝึกการสร้างเครื่องมือวิจัย โดยการทำตารางวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อคำถาม และร่างแบบสอบถาม |
|
7 |
บทที่ 7เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล - เทคนิคการสัมภาษณ์ในกระบวนการเก็บข้อมูล - การจัดการงานสนาม |
5 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นความสำคัญของกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล/การสัมภาษณ์ภาคสนาม 2) ใช้ Role Play เพื่อเรียนรู้กระบวนการสัมภาษณ์ 3) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์การทำงานสนาม #แบบฝึกหัด ให้กลุ่มวิจัยนำแบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ ไปทดลองเก็บข้อมูลในภาคสนาม (เก็บรวบรวมข้อมูล) |
|
8 |
บทที่ 8 การดำเนินการกับข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป - เทคนิคการสร้างคู่มือลงรหัส - การทำงานกับ SPSS |
5 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นการดำเนินการกับข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป 2) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษามีทักษะเกี่ยวกับการสร้างคู่มือลงรหัส และมีทักษะการทำงานกับโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS #แบบฝึกหัด ให้กลุ่มวิจัยฝึกปฏิบัติการสร้างคู่มือลงรหัส และทดลองหาคุณภาพของแบบสอบถาม/แบบวัดความรู้ความเข้าใจ |
|
9 |
บทที่ 9 การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณด้วยสถิติอย่างง่าย -ขั้นตอนการทดสอบสมมุติ ฐานทางสถิติ/ความสำคัญของระดับนัยสำคัญทางสถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ -การประมวลผล/วิเคราะห์ข้อมูล |
5 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นความคิดรวบยอดพื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยได้ 2) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานกับโปรแกรม SPSS เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรเดียว และอ่านแปลผลการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมSPSS ได้ถูกต้อง #แบบฝึกหัด ให้กลุ่มวิจัยฝึกวิเคราะห์ตัวแปรเดียวด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ SD. และการอ่าน/นำเสนอผลการวิเคราะห์ |
|
10-11 |
บทที่ 10 การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ chi-square/ correlation 1)เงื่อนไข/วัตถุประสงค์/และการสรุปผล 2)การทำงานกับโปรแกรม SPSS for Windows 3) การแปลผล/นำเสนอผล |
10 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นเงื่อนไขของการวิเคราะห์ด้วย Chi-square และ Correlation 2) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร ด้วยสถิติ Chi-square และ Correlation และแปลผลการวิเคราะห์/สรุปผลวิจัยได้ถูกต้อง #แบบฝึกหัด ให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วย สถิติ Chi-square และ Correlation พร้อมทั้งแปลตีความและนำเสนอผลการวิเคราะห์ |
|
12-13 |
บทที่ 10 การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ (ต่อ) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย t-test / One way ANOVA 1)เงื่อนไข/วัตถุประสงค์/การสรุปผล 2)การทำงานกับโปรแกรม SPSS for Windows 3) การแปลผล/นำเสนอผล |
10 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นเงื่อนไขของการวิเคราะห์ด้วยสถิติ T-test และ One way ANOVA 2) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของตัวแปร ด้วยสถิติ T-test และ One way ANOVA และแปลผลการวิเคราะห์/สรุปผลวิจัยได้ถูกต้อง #แบบฝึกหัด ให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วย สถิติ T-test และ One way ANOVA พร้อมทั้งแปลตีความและนำเสนอผลการวิเคราะห์ |
|
14 |
บทที่ 10 การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ (ต่อ) การวิเคราะห์ข้อมูลในระดับ Multiple Variate 1) เงื่อนไข/วัตถุประสงค์/การสรุปผล 2) การทำงานกับโปรแกรม SPSS for Windows 3) การแปลผล/นำเสนอผล |
5 |
|
1) ใช้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ในประเด็นเงื่อนไขของการวิเคราะห์ระดับ Multiple Variate 2) ปฏิบัติการกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ระดับ Multiple Variate ได้ และแปลผลการวิเคราะห์/สรุปผลวิจัยได้ถูกต้อง #แบบฝึกหัด ให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ข้อมูลระดับ Multiple Variate พร้อมทั้งแปลตีความและนำเสนอผลการวิเคราะห์ |
|
15 | นำเสนอผลการวิจัยกลุ่ม | 5 |
|
1) สัมมนาวิชาการ เพื่อนำเสนอผลการวิจัยของแต่ละกลุ่มกลุ่ม | |
รวมจำนวนชั่วโมง | 75 | 0 |
8. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
Course assessment
Course assessment
วิธีการประเมิน Assessment Method |
CLO |
สัดส่วนคะแนน Score breakdown |
หมายเหตุ Note |
---|---|---|---|
แบบฝึกหัด และการทดสอบย่อย |
|
20 | |
รายงานผลการศึกษาและการนำเสนอ |
|
40 | |
การสอบปลายภาค |
|
40 | |
สัดส่วนคะแนนรวม | 100 |
9. ตําราและเอกสารประกอบการสอน
Textbook and instructional materials
Textbook and instructional materials
ประเภทตำรา Type |
รายละเอียด Description |
ประเภทผู้แต่ง Author |
ไฟล์ File |
---|
10. การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
ผลการเรียนรู้
Curriculum mapping
Curriculum mapping
1.1 | 1.2 | 1.3 | 1.4 | 2.1 | 2.2 | 2.3 | 2.4 | 3.1 | 3.2 | 4.1 | 4.2 | 4.3 | 4.4 | 5.1 | 5.2 | 5.3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายละเอียดของผลการเรียนรู้ของแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
1. ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3 มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
1.4 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและการแสดงออกซึ่งความมีคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
2. ด้านความรู้
2.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาสังคมศาสตร์
2.2 มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ/วิชาชีพในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
2.3 มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการใหม่ๆ ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทางสังคม
2.4 ตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับในสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และมีความหลากหลายในการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถค้นหา ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้และการแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนในการแก้ปัญหาการทำงานได้จริง
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีภาวะผู้นำ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม
4.2 รู้ความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและเข้าใจหลักการในสาขาวิชาสังคมสาสตร์เพื่อการปรับตัวในการทำงานและการอยู่รวมกับผู้อื่น
4.4 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนได้อย่างเหมาะสม
5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ได้
5.2 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในด้านวิชาการได้
5.3 ความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การใช้ภาษาในหลากหลายทักษะ ทั้งด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และสามารถถ่ายทอดสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ