รายละเอียดรายละเอียดของรายวิชา
สถานะ
Status
หลักสูตร
Academic Program
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Arts
สาขาวิชา
Field
สาขาวิชาภาษาตะวันตก
Western Language
วิชาเอก
Major
วิชาเอกภาษาเยอรมัน
German
หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.
2565
ภาค/ปีการศึกษา
Semester/Academic Year
1 / 2566
1. รหัส ชื่อรายวิชา/ชุดวิชา และจำนวนหน่วยกิต
Course Code and Number(s) of Credits
Course Code and Number(s) of Credits
2. ประเภทของรายวิชา/ชุดวิชา และหลักสูตร
Type of the Subject Course
Type of the Subject Course
3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอน
Course Coordinator and Lecturer
Course Coordinator and Lecturer
4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา/ชุดวิชา
Course learning outcomes-CLO
Course learning outcomes-CLO
5. คําอธิบายรายวิชา / ชุดวิชา
Description of Subject Course/Module
Description of Subject Course/Module
6. รูปแบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
Delivery mode and Learning management Method
Delivery mode and Learning management Method
7. แผนการจัดการเรียนรู้
Lesson plan
Lesson plan
สัปดาห์ที่ Week |
หัวข้อการสอน Teaching topics |
จํานวน ชั่วโมง Number of hours |
CLO |
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/ เอกสารและช่องทางการสอน Teaching and Learning Activities, Instructional Media/ Materials, and Teaching Channels |
|
---|---|---|---|---|---|
ทฤษฎี | ปฏิบัติ | ||||
1-3 |
แนะนำรายวิชา ข้อตกลงเบื้องต้น บทที่ 1 การออกเสียงภาษาเยอรมัน - ความหมายของสัทศาสตร์ - ประวัติโดยสังเขปของการศึกษาเรื่องการออกเสียง - อวัยวะและตำแหน่งของอวัยวะในช่องปากที่มีผลต่อการออกเสียง (กรณ์ และฐาน) |
9 |
|
(1) เช็คชื่อ ชี้แจงและแนะนำการเรียนและการส่งงานผ่านออนไลน์ ใน Google Classroom ของรายวิชา อธิบายประมวลรายวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้พร้อมกับอภิปรายและตกลงรูปแบบการประเมินร่วมกันและอธิบายลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 1 (2) นักศึกษาศึกษาดูวิดีโอตัวอย่างการออกเสียงของชาวต่างชาติในการแนะนำตัวเป็นภาษาเยอรมันใน Google Classroom ทั้งนี้เพื่อสังเกตการออกเสียงของเจ้าของภาษา (3) นักศึกษาจัดทำคลิปวิดีโอแนะนำตนเองส่งทางออนไลน์ (4) มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลในเว็ปไซต์เกี่ยวกับความหมายของสัทศาสตร์ ประวัติของการศึกษาเรื่องการออกเสียง ตลอดจนความสำคัญของอวัยวะและตำแหน่งของอวัยวะในช่องปากที่มีผลต่อการออกเสียง (กรณ์ และฐาน) (5) เปิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากเว็ปไซต์ในประเด็นที่ได้รับมอบหมาย (6) นักศึกษาศึกษาเอกสารประกอบสอนและทำแบบฝึกหัด (7) เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามถึงประเด็นที่ยังไม่เข้าใจของเนื้อหาบทที่ 1 (8) นักศึกษาจัดทำ My Mapping/Infographic สรุปเนื้อหาสำคัญประจำบท (9) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 1 |
|
4-5 |
บทที่ 2 หน่วยเสียง - องค์ประกอบของเสียง - ความหมายของหน่วยเสียง - พยัญชนะ - สระเดี่ยว - สระผสม - สระเสียงสั้น - สระเสียงยาว |
6 |
|
(1) เช็คชื่อและอธิบายถึงลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 2 (2) ทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับพยัญชนะและสระภาษาเยอรมัน ฝึกออกเสียงคำศัพท์ตามที่กำหนด โดยสังเกตและวิเคราะห์ความแตกต่างของการออกเสียงของสมาชิกในกลุ่มแต่ละคน (3) นักศึกษาศึกษาเอกสารประกอบสอน และดูคลิปวีดีโอใน YouTube เพิ่มเติม เพื่อฝึกการออกเสียงพยัญชนะและสระที่ถูกต้อง (4) ทำกิจกรรมกลุ่ม และทำแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการสอนและงานที่ได้มอบหมายเพิ่มเติม (5) ตอบข้อซักถามของนักศึกษา และอธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัดหรืองานที่ได้มอบหมาย (6) นักศึกษาจัดทำ My Mapping/Infographic สรุปเนื้อหาสำคัญประจำบท (7) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2 |
|
6-9 |
บทที่ 3 สัทอักษร - ที่มา - การถ่ายทอดเสียงโดยใช้สัทอักษรสำหรับพยัญชนะ และ สระชนิดต่างๆ - ลักษณะเฉพาะของการเปลี่ยนแปลงหน่วยเสียงท้ายคำหรือท้ายพยางค์ของพยัญชนะบางตัว |
12 |
|
(1) เช็คชื่อและอธิบายถึงลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 3 (2) นักศึกษาแบ่งกลุ่มทบทวนและฝึกการออกเสียงสระและพยัญชนะภาษาเยอรมันอีกครั้ง และสังเกตสัทอักษรของสระเสียงสั้น เสียงยาว สระเดี่ยว สระผสม ตลอดจนพยัญชนะของภาษาเยอรมัน สระ ทั้งสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว (3) ฟัง CD เพื่อฝึกการออกเสียง และทำกิจกรรมกลุ่ม (4) นักศึกษาศึกษาเอกสารประกอบสอน และฝึกการเขียนถ่ายทอดเสียงด้วยสัทอักษร สังเกตการเปลี่ยนแปลงหน่วยเสียงท้ายคำหรือท้ายพยางค์ของพยัญชนะบางตัว (5) ทำแบบฝึกหัดและส่งงานที่ได้รับมอบหมายใน Google Classroom ของรายวิชา (6) ตอบข้อซักถามของนักศึกษา และอธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัดหรืองานที่มอบหมาย (7) นักศึกษาจัดทำ My Mapping/Infographic สรุปเนื้อหาสำคัญประจำบท (8) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 3 |
|
10-11 |
บทที่ 4 การเน้นเสียงคำหรือพยางค์ - คำนาม - คำกริยา - ตัวเลข - อักษรย่อ |
6 |
|
(1) เช็คชื่อและอธิบายถึงลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 4 (2) นักศึกษาฟัง CD เพื่อฝึกการออกเสียงคำศัพท์ต่างๆ ตลอดจนอักษรย่อและตัวเลขให้ถูกต้อง ทั้งนี้ให้สังเกตการเน้น เสียง และฝึกออกเสียงตามให้ถูกต้อง (3) จับคู่ฝึกการออกเสียง (4) นักศึกษาศึกษาเอกสารประกอบสอน และฝึกเขียนถ่ายทอดเสียงคำศัพท์ต่างๆ ด้วยสัทอักษร และฝึกการออกเสียงโดยเน้นการเน้นเสียงถูกต้อง และทำกิจกรรมกลุ่ม (5) ทำแบบฝึกหัดและส่งงานที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติมใน Google Classroom ของรายวิชา (6) ตอบข้อซักถามของนักศึกษา และอธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัดหรืองานที่มอบหมาย (7) นักศึกษาจัดทำ My Mapping/Infographic สรุปเนื้อหาสำคัญประจำบท |
|
12-13 |
บทที่ 5 ท่วงทำนองเสียงและการลงน้ำหนักเสียงในประโยค - ทำนองเสียงท้ายประโยคลักษณะต่างๆ - การลงน้ำหนักเสียงในข้อความที่ต้องการสื่อเฉพาะข้อมูลไม่แสดงอารมณ์ - การลงน้ำหนักเสียงในข้อความที่ต้องการแสดงอารมณ์ของผู้พูด |
6 |
|
(1) เช็คชื่อและอธิบายถึงลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 5 (2) นักศึกษาฟัง CD เพื่อฝึกการออกเสียงประโยคลักษณะต่างๆ ตลอดจนท่วงทำนองของเสียงท้ายประโยค สังเกตและเปรียบเทียบประโยคที่มีการลงน้ำหนักเสียงในข้อความที่ต้องการสื่อเฉพาะข้อมูล โดยไม่แสดงอารมณ์ และประโยคที่มีการลงน้ำหนักเสียงในข้อความที่ต้องการแสดงอารมณ์ของผู้พูด (3) ให้นักศึกษาศึกษาเอกสารประกอบสอน ฝึกการออกเสียงให้มีท่วงทำนองเสียงและการลงน้ำหนักเสียงให้ถูกต้อง และทำกิจกรรมกลุ่ม (5) ทำแบบฝึกหัดและส่งงานที่ได้รับมอบหมายใน Google Classroom ของรายวิชา (6) ตอบข้อซักถามของนักศึกษา และอธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัดหรืองานที่มอบหมาย (7) นักศึกษาจัดทำ My Mapping/Infographic สรุปเนื้อหาสำคัญประจำบท (8) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 4 (เนื้อหาบทที่ 4 และ 5) |
|
15-16 |
บทที่ 6 เสียงที่เป็นปัญหาสำหรับผู้เรียน |
6 |
|
(1) เช็คชื่อและอธิบายถึงลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 6 (2) ทำกิจกรรมกลุ่มโดยให้สำรวจเสียงที่เป็นปัญหาของสมาชิกในกลุ่ม และศึกษาวิธีการออกเสียงที่ถูกต้องใน You Tube หลังจากนั้นให้ฝึกการออกเสียงที่เป็นปัญหานั้นๆ โดยให้จัดทำคลิปอธิบายการออกเสียงที่เป็นปัญหาของกลุ่มตน (จัดทำคลิปวิดีโอความยาวประมาณ 5-7 นาที) |
|
รวมจำนวนชั่วโมง | 45 | 0 |
8. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
Course assessment
Course assessment
วิธีการประเมิน Assessment Method |
CLO |
สัดส่วนคะแนน Score breakdown |
หมายเหตุ Note |
---|---|---|---|
- การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น - พฤติกรรมการส่งงาน |
|
10 | สัปดาห์ที่ 1-15 |
การสอบออกเสียง |
|
5 | สัปดาห์ที่ 6-15 (ตามการนัดหมาย) |
งานกลุ่ม และการจัดทำคลิปวิดีโอ |
|
25 | เก็บคะแนนกลุ่มตามการนัดหมาย และส่งผลงานที่เป็นคลิปวิดีโอหลังวันเรียนวันสุดท้าย 1 สัปดาห์ |
การสอบเก็บคะแนน |
|
10 | สัปดาห์ที่ 3, 5, 9, 13 |
การสอบกลางภาค |
|
20 | ตามปฏิทินมหาวิทยาลัย |
การสอบปลายภาค |
|
30 | ตามปฏิทินมหาวิทยาลัย |
สัดส่วนคะแนนรวม | 100 |
9. ตําราและเอกสารประกอบการสอน
Textbook and instructional materials
Textbook and instructional materials
ประเภทตำรา Type |
รายละเอียด Description |
ประเภทผู้แต่ง Author |
ไฟล์ File |
---|---|---|---|
เอกสารประกอบการสอน | บุญมา พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2561). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาสัทศาสตร์เยอรมัน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. | อาจารย์ภายในคณะ | |
หนังสือ หรือ ตำรา | พรสรรค์ วัฒนางกูร. (2548). ออกเสียงภาษาเยอรมัน Deutsche Phonetik. . พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
เอกสารประกอบการสอน | บุญมา พรหมสาขา ณ สกลนคร. (ฉบับร่าง 2565). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาสัทศาสตร์เยอรมัน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. | อาจารย์ภายในคณะ |
10. การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
ผลการเรียนรู้
Curriculum mapping
Curriculum mapping
1.1 | 1.2 | 1.3 | 1.4 | 2.1 | 2.2 | 2.3 | 2.4 | 2.5 | 3.1 | 3.2 | 4.1 | 4.2 | 4.3 | 4.4 | 5.1 | 5.2 | 5.3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1. ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ดังนี้
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ
1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3 มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
1.4 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
2. ด้านความรู้ ดังนี้
2.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน
2.2 มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาภาษาสเปน หรือภาษาเยอรมัน หรือภาษาฝรั่งเศส สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ/วิชาชีพในสถานการณ์ต่างๆ ได้
2.3 มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการใหม่ๆ ในสาขาวิชา รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชา
2.4 มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของอารยธรรมเยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน
2.5 มีความรู้ความเข้าใจในภาษาสเปน หรือภาษาเยอรมัน หรือภาษาฝรั่งเศส ที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
3. ด้านทักษะทางปัญญา ดังนี้
3.1 สามารถค้นหา ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้และการแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบกา รณ์ของตนในการแก้ปัญหาการทำงานได้
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ดังนี้
4.1 มีภาวะผู้นำ มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม
4.2 ตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
4.3 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้เหมาะสม
4.4 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและสาขาวิชาการ/วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
5. ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
5.1 มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพได้
5.2 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในสาขาวิชาการ/วิชาชีพได้
5.3 มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ