Theme-Logo
รายละเอียดรายละเอียดของรายวิชา
สถานะ
Status
หลักสูตร
Academic Program
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Arts
สาขาวิชา
Field
สาขาวิชาภาษาตะวันตก
Western Language
วิชาเอก
Major
วิชาเอกภาษาเยอรมัน
German
หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.
2565
ภาค/ปีการศึกษา
Semester/Academic Year
1 / 2566
1. รหัส ชื่อรายวิชา/ชุดวิชา และจำนวนหน่วยกิต
     Course Code and Number(s) of Credits
รหัสวิชา/ชุดวิชา
Course Code
HS722107
ภาษาไทย
Thai name
ภาษาเยอรมัน 3
ภาษาอังกฤษ
English name
GERMAN III
จํานวนหน่วยกิต
Number(s) of Credits
3(3-0-6)
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน
Pre-requisite
HS721101#,HS721103#
2. ประเภทของรายวิชา/ชุดวิชา และหลักสูตร
     Type of the Subject Course
ประเภท
Type
  • รายวิชาบังคับ (Compulsory Course)
ในหลักสูตร
in the Program of
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันตก วิชาเอกภาษาเยอรมัน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
และ เป็นรายวิชา/ชุดวิชาในหลักสูตร
and if also used in other academic programs, please specify the program and the subject type
    3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอน
         Course Coordinator and Lecturer
    อาจารย์ผู้รับผิดชอบ
    Course Coordinator
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญมา พรหมสาขา ณ สกลนคร
    อาจารย์ผู้สอน
    Lecturers
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญมา พรหมสาขา ณ สกลนคร
    4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา/ชุดวิชา
         Course learning outcomes-CLO
    ความรู้
    Knowledge
    • นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน
    • นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิอากาศ การศึกษา งานและอาชีพ เป็นต้น
    จริยธรรม
    Ethics
    • นักศึกษามีวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
    ทักษะ
    Skills
    • นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนในหัวข้อต่าง ๆ
    ลักษณะบุคคล
    Character
    • นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้เหมาะสม
    5. คําอธิบายรายวิชา / ชุดวิชา
         Description of Subject Course/Module
    ภาษาไทย
    Thai
    การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน เพื่อการอธิบายบุคลิกลักษณะของคน ลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศ การศึกษา งานและอาชีพ
    ภาษาอังกฤษ
    English
    Development of language skills for communication with the use of complex grammatical structures for describing personalities, climate and geography, education, jobs and occupations
    6. รูปแบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
         Delivery mode and Learning management Method
    รูปแบบ
    Delivery mode
    • Classroom-based learning
    • Blended learning
    รูปแบบการจัดการเรียนรู้
    Learning management Method
    • Content and language integrated learning
    • Task-based learning
    7. แผนการจัดการเรียนรู้
         Lesson plan
    สัปดาห์ที่
    Week
    หัวข้อการสอน
    Teaching topics
    จํานวน
    ชั่วโมง
    Number of hours
    CLO กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/ เอกสารและช่องทางการสอน
    Teaching and Learning Activities, Instructional Media/ Materials, and Teaching Channels
    ทฤษฎี ปฏิบัติ
    1 แนะนำรายวิชา ข้อตกลงเบื้องต้น 3
    • K1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน
    • S1: นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนในหัวข้อต่าง ๆ
    (1) เช็คชื่อ ชี้แจงและแนะนำการเรียนและการส่งงานใน Google Classroom อธิบายประมวลรายวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้พร้อมกับอภิปรายและตกลงรูปแบบการประเมินร่วมกัน
    (2) นักศึกษาศึกษาดูวิดีโอตัวอย่างการกล่าวทักทายแนะนำตัวเป็นภาษาเยอรมันใน Google Classroom ของรายวิชา
    (3) นักศึกษาจัดทำคลิปวิดีโอแนะนำตนเองส่งทางออนไลน์
    2-4 บทที่ 1
    การอธิบายบุคลิกลักษณะของคนและสิ่งของ
    ไวยากรณ์
    - คำคุณศัพท์ขยายหน้าคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
    - คำคุณศัพท์ขยายหน้าคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
    - ทบทวนการใช้คำสรรพนามระบุความเป็นเจ้าของ: ประธาน กรรมตรง และกรรมรอง
    9
    • K1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน
    • K2: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิอากาศ การศึกษา งานและอาชีพ เป็นต้น
    • S1: นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนในหัวข้อต่าง ๆ
    (1) เช็คชื่อและอธิบายถึงลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 1
    (2) ให้นักศึกษาทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับการใช้คำคุณศัพท์ และให้แต่งประโยคที่มีการใช้คำคุณศัพท์ในลักษณะต่าง ๆ ที่นักศึกษารู้จักลงในกลุ่ม Facebook
    (3) นักศึกษาอ่านบทความภาษาเยอรมันเกี่ยวกับการอธิบายบุคลิกลักษณะของคนและสิ่งของใน Google Classroom โดยสังเกตและวิเคราะห์ความแตกต่างของคำคุณศัพท์ในประโยคที่แต่งเองกับคำคุณศัพท์ที่ใช้หรือปรากฏอยู่ในบทความ ร่วมแสดงความคิดเห็น
    (4) นักศึกษาศึกษาการใช้คำคุณศัพท์ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มเติมจากคลิปใน YouTube (ใน Google Classroom) และศึกษาเนื้อหาในเอกสารประกอบการสอน พร้อมทั้งทำแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการสอนและแบบฝึกหัดออนไลน์
    (5) อธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัด และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามถึงประเด็นที่ยังไม่เข้าใจ มอบหมายงานให้นักศึกษาทบทวนคำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของสำหรับคำนามเพศต่าง ๆ (ประธาน กรรมตรง และกรรมรอง) ในเอกสารประกอบการสอนและใน Google Classroom ทั้งนี้ให้วิเคราะห์โครงสร้างของประโยคและสังเกตรูปแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของคำคุณศัพท์ที่ใช้ขยายคำนามที่มีคำนำหน้าคำนามเป็นคำสรรพนามระบุความเป็นเจ้าของในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประธาน กรรมตรงและกรรมรอง พร้อมทั้งทำแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการสอนและแบบฝึกหัดออนไลน์ใน Google Classroom
    (6) นักศึกษาแบ่งกลุ่มจัดทำ My Mapping/Infographic เกี่ยวการใช้คำคุณศัพท์ในการอธิบายบุคลิกลักษณะของคนและสิ่งของในรูปแบบต่าง ๆ
    (7) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 1
    5-7 บทที่ 2
    ภูมิอากาศและภูมิประเทศ
    ไวยากรณ์
    - การใช้ “es” (Das Pronomem "es")
    - การใช้ Verben/ Adjektive /Nomen mit Präpositionen
    - Relativsätze
    9
    • K1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน
    • K2: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิอากาศ การศึกษา งานและอาชีพ เป็นต้น
    • S1: นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนในหัวข้อต่าง ๆ
    (1) เช็คชื่อและอธิบายถึงลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 2
    (2) การนำเสนอของนักศึกษาเรื่องภูมิอากาศและภูมิประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศเยอรมัน (การนำเสนอเกี่ยวกับประเทศเยอรมัน)
    (3) นักศึกษาทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและภูมิประเทศ อธิบายการใช้คำสรรพนาม “es” และคำศัพท์สำคัญในการอธิบายถึงสภาพอากาศและภูมิประเทศ
    (4) ศึกษาเอกสารประกอบการสอน พร้อมทั้งทำแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการสอนและออนไลน์
    (5) อธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัด และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามถึงประเด็นที่ยังไม่เข้าใจ มอบหมายงานให้นักศึกษาทบทวนความรู้เกี่ยวกับคำบุพบท และให้นักศึกษาอ่านบทความในเอกสารประกอบการสอน โดยให้วิเคราะห์โครงสร้างของประโยคและสังเกตการใช้คำบุพบทในประโยคต่าง ๆ และร่วมกันสรุปและรวบรวมคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำนามที่ต้องการด้วยคำบุพบทเฉพาะ โดยแสดงความคิดเห็นลงในกลุ่ม Facebook
    (6) การนำเสนอของนักศึกษาเรื่องการใช้ Verben/ Adjektive /Nomen mit Präpositionen และประโยค Relativsatz (การนำเสนอเกี่ยวกับไวยากรณ์) หลังจากนั้นให้ศึกษาเนื้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมในเอกสารประกอบการสอน และใน Google Classroom ตลอดจนทำแบบฝึกหัดทั้งในเอกสารประกอบการสอนและแบบฝึกหัดออนไลน์
    (7) นักศึกษาจัดทำ My Mapping/Infographic สรุปเนื้อหาไวยากรณ์ประจำบท
    (8) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2
    8-11 บทที่ 3
    การศึกษา
    ไวยากรณ์
    - Verben im Präteritum
    - Konjunktionen ในรูปแบบ Hauptsatz + Hauptsatz และ คำเชื่อมที่มีลักษณะเป็น Doppelkonjunktionen
    12
    • K1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน
    • K2: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิอากาศ การศึกษา งานและอาชีพ เป็นต้น
    • S1: นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนในหัวข้อต่าง ๆ
    (1) เช็คชื่อและอธิบายถึงลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 3
    (2) การนำเสนอของนักศึกษาเรื่องการศึกษาในระดับต่าง ๆ ของประเทศเยอรมัน (การนำเสนอเกี่ยวกับประเทศเยอรมัน) และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อดังกล่าวในกลุ่ม Facebook
    (3) นักศึกษาทบทวน Modalverb ทั้งด้านความหมายและการผัน และอ่านบทความในเอกสารประกอบการสอนเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาในประเทศเยอรมัน โดยให้สังเกตการใช้รูปกาลของประโยคและคำเชื่อมประโยค (คำสันธาน)
    (4) อธิบายการใช้ Modalverb และคำกริยาอื่นในรูปอดีตกาลและการใช้คำเชื่อมประโยคในรูปแบบต่างๆ มอบหมายให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการสอนและแบบออนไลน์ใน Google Classroom
    (5) การนำเสนอของนักศึกษาเรื่องการใช้ Konjunktionen ในรูปแบบ Hauptsatz + Hauptsatz และ คำเชื่อมที่มีลักษณะเป็น Doppelkonjunktionen (การนำเสนอเกี่ยวกับไวยากรณ์)
    (6) อธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัด และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามถึงประเด็นที่ยังไม่เข้าใจ ร่วมแลกเปลี่ยนและทบทวนคำสันธานที่นักศึกษารู้จักหรือเคยใช้ โดยให้แต่ละคนแต่งประโยคที่มีการใช้ Modalverb และคำเชื่อมประโยค และเขียนลงในกลุ่ม Facebook หลังจากนั้นสมาชิกของกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็นว่าประโยคต่าง ๆ นั้น มีข้อผิดพลาดตรงไหนหรือไม่อย่างไร
    (7) นักศึกษาเข้าดูคลิปเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคำสันธานใน YouTube ใน Google Classroom โดยให้สังเกตตำแหน่งของคำกริยาในการใช้คำสันธานชนิดต่าง ๆ และศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมในเอกสารประกอบการสอน พร้อมทั้งทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง
    (8) นักศึกษาจัดทำ My Mapping/Infographic สรุปเนื้อหาไวยากรณ์ประจำบท
    (9) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 3
    12-15 บทที่ 4 งานและอาชีพ
    ไวยากรณ์
    - การใช้คำคุณศัพท์ในรูปขั้นกว่าและขั้นสุด
    - การใช้อนุประโยค: Konjunktionen ในรูปแบบ Hauptsatz + Nebensatz
    - การใช้คำกริยาในรูป Konjunktiv II
    12
    • K1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน
    • K2: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิอากาศ การศึกษา งานและอาชีพ เป็นต้น
    • S1: นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนในหัวข้อต่าง ๆ
    (1) เช็คชื่อและอธิบายถึงลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 4
    (2) การนำเสนอของนักศึกษาเรื่องงานและอาชีพที่สนใจในประเทศเยอรมัน (การนำเสนอเกี่ยวกับประเทศเยอรมัน) และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อดังกล่าว
    (3) นักศึกษาทบทวนการใช้คำคุณศัพท์เพื่อแสดงความเห็นและการใช้คำคุณศัพท์ในรูปขั้นกว่าและขั้นสุดใน Google Classroom และทำแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการสอน
    (4) การนำเสนอของนักศึกษาเรื่องการใช้อนุประโยคในรูปแบบ Hauptsatz + Nebensatz (การนำเสนอเกี่ยวกับไวยากรณ์) และมอบหมายให้นักศึกษาอ่านบทความในเอกสารประกอบการสอน และทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง
    (5) อธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัด และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามถึงประเด็นที่ยังไม่เข้าใจt ร่วมกันแลกเปลี่ยนและทบทวนวิเคราะห์โครงสร้างของประโยคและการใช้คำเชื่อมระหว่างประโยคหลักและประโยครอง รวมถึงตำแหน่งของคำกริยาในอนุประโยค
    (6) นักศึกษาทบทวนความรู้เกี่ยวกับ Imperativsatz ใน Google Classroom และอ่านบทความในเอกสารประกอบการสอน
    นักศึกษาสังเกตโครงสร้างของประโยคที่ปรากฎในบทความ และเปรียบเทียบโครงสร้างประโยคเหล่านั้นกับ Imperativsatz โดยสังเกตคำกริยาและตำแหน่งของคำกริยาในประโยคขอร้องและการให้คำแนะนำที่ใช้รูป Konjunktiv II และศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมในเอกสารประกอบการสอน พร้อมทั้งทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง
    (7) การนำเสนอของนักศึกษาเรื่อง Konjunktiv II (การนำเสนอเกี่ยวกับไวยากรณ์)
    (8) นักศึกษาจัดทำ My Mapping/Infographic สรุปเนื้อหาไวยากรณ์ประจำบท
    (8) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 4
    รวมจำนวนชั่วโมง 45 0
    8. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
         Course assessment
    วิธีการประเมิน
    Assessment Method
    CLO สัดส่วนคะแนน
    Score breakdown
    หมายเหตุ
    Note
    - การเข้าชั้นเรียน
    - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน อภิปราย ตอบคำถาม และร่วมกิจกรรม
    - พฤติกรรมการส่งงาน
    • E1: นักศึกษามีวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
    • C1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้เหมาะสม
    10 สัปดาห์ที่ 1-15
    - การนำเสนอ (งานกลุ่ม)

    - ผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
    • K1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน
    • K2: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิอากาศ การศึกษา งานและอาชีพ เป็นต้น
    • S1: นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนในหัวข้อต่าง ๆ
    30 สัปดาห์ที่ 4, 6, 7, 8,9, 10, 11, 13, 14, 15
    การสอบเก็บคะแนน 4 ครั้ง
    • K1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน
    • K2: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิอากาศ การศึกษา งานและอาชีพ เป็นต้น
    • S1: นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนในหัวข้อต่าง ๆ
    10 สัปดาห์ที่ 4, 7, 11, 15
    สอบกลางภาค
    • K1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน
    • K2: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิอากาศ การศึกษา งานและอาชีพ เป็นต้น
    • S1: นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนในหัวข้อต่าง ๆ
    20 ตามปฏิทินมหาวิทยาลัย
    สอบปลายภาค
    • K1: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการการใช้ภาษาเยอรมันในการติดต่อสื่อสารโดยการใช้หลักไวยากรณ์ที่ซับซ้อน
    • K2: นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิอากาศ การศึกษา งานและอาชีพ เป็นต้น
    • S1: นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ในการใช้ภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนในหัวข้อต่าง ๆ
    30 ตามปฏิทินมหาวิทยาลัย
    สัดส่วนคะแนนรวม 100
    9. ตําราและเอกสารประกอบการสอน
         Textbook and instructional materials
    ประเภทตำรา
    Type
    รายละเอียด
    Description
    ประเภทผู้แต่ง
    Author
    ไฟล์
    File
    เอกสารประกอบการสอน บุญมา พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2561). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาภาษาเยอรมัน 3. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    แอพพลิเคชั่น/เว็บไซต์ https://www.hueber.de/seite/lernen_tana
    แอพพลิเคชั่น/เว็บไซต์ https://www.hueber.de/seite/pg_lernen_uebungen_mns
    แอพพลิเคชั่น/เว็บไซต์ http://www.hueber.de/shared/uebungen/schritte-international
    แอพพลิเคชั่น/เว็บไซต์ https://www.hueber.de/shared/uebungen/themen-aktuell/lerner/uebungen
    10. การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา
         Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
    การประเมินประสิทธิผลรายวิชาและการทวนสอบ
    Evaluation of course effectiveness and validation
    • ประเมินโดยนักศึกษาผ่านระบบประเมินออนไลน์ของมหาวิทยาลัย (The Course is evaluated online by students via the university's course evaluation system)
    • ประเมินโดยการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร (The Course learning outcomes are validated by the program committee.)
    • ประเมินโดยสะท้อนผลการจัดการเรียนการสอนในช่วงของการเรียนแต่ละรายวิชา (Effectiveness of teaching and learning is evaluated periodically throughout the semester.)
    การปรับปรุงการเรียนการสอนและประสิทธิผลของรายวิชา
    Improving Course instruction and effectiveness
    • นําผลการประเมินโดยนักศึกษา มาปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน (Improve and develop course instruction and assessment according to students' feedback.)
    • นําผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนการสอนเพื่อมาปรับปรุงการเรียนการสอนในรายวิชา (Improve and develop course instruction and assessment according to the course validation result.)
    ผลการเรียนรู้
    Curriculum mapping
    1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3

    1. ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ดังนี้
    1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ
    1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
    1.3 มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
    1.4 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ

    2. ด้านความรู้ ดังนี้
    2.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน
    2.2 มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาภาษาสเปน หรือภาษาเยอรมัน หรือภาษาฝรั่งเศส สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ/วิชาชีพในสถานการณ์ต่างๆ ได้
    2.3 มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการใหม่ๆ ในสาขาวิชา รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชา
    2.4 มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของอารยธรรมเยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน
    2.5 มีความรู้ความเข้าใจในภาษาสเปน หรือภาษาเยอรมัน หรือภาษาฝรั่งเศส ที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

    3. ด้านทักษะทางปัญญา ดังนี้
    3.1 สามารถค้นหา ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้และการแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์
    3.2 สามารถคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบกา รณ์ของตนในการแก้ปัญหาการทำงานได้

    4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ดังนี้
    4.1 มีภาวะผู้นำ มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม
    4.2 ตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
    4.3 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้เหมาะสม
    4.4 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและสาขาวิชาการ/วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

    5. ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
    5.1 มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพได้
    5.2 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในสาขาวิชาการ/วิชาชีพได้
    5.3 มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ