รายละเอียดรายละเอียดของรายวิชา
สถานะ
Status
หลักสูตร
Academic Program
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Arts
สาขาวิชา
Field
สาขาวิชาภาษาตะวันตก
German
วิชาเอก
Major
วิชาเอกภาษาเยอรมัน
Major in German
หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.
2560
ภาค/ปีการศึกษา
Semester/Academic Year
1 / 2566
1. รหัส ชื่อรายวิชา/ชุดวิชา และจำนวนหน่วยกิต
Course Code and Number(s) of Credits
Course Code and Number(s) of Credits
2. ประเภทของรายวิชา/ชุดวิชา และหลักสูตร
Type of the Subject Course
Type of the Subject Course
3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอน
Course Coordinator and Lecturer
Course Coordinator and Lecturer
4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา/ชุดวิชา
Course learning outcomes-CLO
Course learning outcomes-CLO
5. คําอธิบายรายวิชา / ชุดวิชา
Description of Subject Course/Module
Description of Subject Course/Module
6. รูปแบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
Delivery mode and Learning management Method
Delivery mode and Learning management Method
7. แผนการจัดการเรียนรู้
Lesson plan
Lesson plan
สัปดาห์ที่ Week |
หัวข้อการสอน Teaching topics |
จํานวน ชั่วโมง Number of hours |
CLO |
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/ เอกสารและช่องทางการสอน Teaching and Learning Activities, Instructional Media/ Materials, and Teaching Channels |
|
---|---|---|---|---|---|
ทฤษฎี | ปฏิบัติ | ||||
1 |
แนะนำรายวิชา ข้อตกลงเบื้องต้น ขั้นเตรียมความพร้อมนำเข้าสู่เนื้อหา |
3 |
|
(1) ชี้แจงและแนะนำการเรียนและการส่งงานเข้าในระบบ Google Classroom ของรายวิชา และอธิบายประมวลรายวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้ พร้อมกับอภิปรายและตกลงรูปแบบการประเมินร่วมกัน ตลอดจนการจัดการแบ่งกลุ่มสำหรับการนำเสนอ (2) นักศึกษาศึกษาดูวิดีโอตัวอย่างการกล่าวทักทายแนะนำตัวเป็นภาษาเยอรมันใน Google Classroom (3) ร่วมกันสรุปความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้คำทักทายและแนะนำตัวด้วยภาษาเยอรมัน โดยแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม Facebook ของรายวิชา |
|
2-3 |
บทที่ 1 การทักทาย - การกล่าวคำทักทายและการแนะนำตัว - การถามทุกข์สุข - การนับเลขถึงหลักร้อย ไวยากรณ์ - การใช้คำสรรพนาม ich , Sie และ du - ประโยคบอกเล่า (Aussage) - ประโยคคำถามแบบ W-Frage และ Ja/Nein-Frage |
6 |
|
(1) เช็คชื่อผู้เข้าเรียนอธิบายลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 1 (2) นักศึกษาดูคลิปการสนทนาจากสื่อออนไลน์ และให้นักศึกษาลองเลียนแบบการแนะนำตัวคร่าวๆ (3) ฝึกการแนะนำตัวเป็นรายบุคคลและจับคู่สนทนา และให้นักศึกษาเข้าฟังคลิปบรรยายเพิ่มเติมในGoogle Classroom เรื่องการกล่าวคำทักทายและการแนะนำตัว การใช้คำสรรพนาม Sie และ du (4) ให้นักศึกษาอัดเป็นคลิปสั้นๆ หรือ Facebook live แนะนำตัวเองในกลุ่มวิชาเรียนใน Facebook เพื่อให้นึกศึกษาได้ทำความรู้จักเพื่อนร่วมชั้นเรียน (5) นักศึกษาศึกษาเนื้อหาในแบบเรียนและฟังบทสนทนาที่เกี่ยวข้องและทบทวนการฟังใน Google Classroom (6) อธิบายเกี่ยวกับการสร้างประโยคบอกเล่า และประโยคคำถาม ตลอดจนการใช้คำนำหน้าคำนามหน้าชื่อบางประเทศ ให้ศึกษาเอกสารประกอบการสอนของบทที่ 1 พร้อมทำแบบฝึกหัดทั้งในเอกสารประกอบการสอนและแบบฝึกหัดในระบบออนไลน์ (7) มอบหมายให้นักศึกษาฟังคลิปใน YouTube: หัวข้อ ตัวเลข โดยให้ฝึกออกเสียงตัวเลขต่างๆ และศึกษาการเขียนตัวเลขเป็นตัวอักษรในเอกสารประกอบการสอนและในคลิปบรรยายใน Google Classroom (8) การนำเสนอของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย (9) นักศึกษาร่วมกันอภิปราย และสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการกล่าวคำทักทายและการแนะนำตัว การใช้คำสรรพนาม Sie และ du การนับตัวเลข การใช้ประประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม การใช้คำนำหน้าคำนามหน้าชื่อบางประเทศ ตลอดจนตอบข้อซักถาม และอธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัด (10) มอบหมายงานประจำบทที่ 1 โดยให้จับคู่ทำคลิปบทสนทนาแนะนำตนเอง ส่งใน Google Classroom (11) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 1 |
|
4-7 |
บทที่ 2 การพบปะและการสั่งอาหาร - การบอกที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ - ตัวอักษรภาษาเยอรมัน - การสะกดคำ - การสั่งอาหารในภัตตาคาร ไวยากรณ์ - คำกริยาในรูปปัจจุบันกาล - คำนามและคำนำหน้าคำนามแบบชี้เฉพาะและไม่ชี้เฉพาะ - คำนำหน้าคำนามในรูปปฎิเสธ ซึ่งทำหน้าที่ประธานและกรรมของประโยค |
12 |
|
(1) เช็คชื่อผู้เข้าเรียน อธิบายลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 2 (2) นักศึกษาฟังตัวอย่างการสนทนาประจำบทเกี่ยวกับตัวเลขและตัวอักษรในภาษาเยอรมัน และฝึกออกเสียงตัวอักษรเหล่านั้นให้ถูกต้อง ตลอดจนการสะกดคำและออกเสียงคำศัพท์ภาษาเยอรมันให้ถูกต้อง (3) มอบหมายให้นักศึกษาดูคลิปการสนทนาในร้านอาหารใน YouTube (ใน Google Classroom) (4) ศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมในเอกสารการเรียนและฟังบทสนทนาที่เกี่ยวข้องใน Google Classroom (5) อธิบายเกี่ยวกับคำกริยาในรูปปัจจุบันกาล การใช้คำนามและคำนำหน้าคำนามในลักษณะต่างๆ และให้ศึกษาเอกสารประกอบการสอนของบทที่ 2 พร้อมทำแบบฝึกหัดทั้งในเอกสารประกอบการสอนและแบบฝึกหัดในระบบออนไลน์ (6) กลุ่มที่ได้รับมอบหมายนำเสนองาน (ครั้งที่ 2) (7) มอบหมายให้นักศึกษาดูคลิปใน YouTube: หัวข้อ คำนำหน้าคำนาม ในรูปปฏิเสธ ซึ่งทำหน้าที่ประธานและกรรมของประโยคและศึกษาเนื้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมในเอกสารประกอบการสอนและใน Google Classroom (8) นักศึกษาร่วมกันอภิปราย และสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ในบทที่ 2 ตลอดจนตอบข้อซักถาม และอธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัด (9) มอบหมายงานประจำบทที่ 2 โดยให้จับคู่ทำคลิปบทสนทนาเลียนแบบสถานการณ์ในร้านอาหาร ส่งใน Google Classroom (10) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2 |
|
8-11 |
บทที่ 3 การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า - การสอบถามเกี่ยวกับงสินค้าและราคาสินค้า - การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้า - การนับเลขตั้งแต่หลักพันเป็นต้นไป ไวยากรณ์ - คำคุณศัพท์บอกลักษณะ - คำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงของประโยค - การเปลี่ยนคำนำหน้าคำนามให้เป็นคำสรรพนาม |
12 |
|
(1) เช็คชื่อผู้เข้าเรียน อธิบายลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 3 (2) นักศึกษาฟังตัวอย่างการสนทนาประจำบทเกี่ยวกับการสอบถามราคาสินค้า และการสอบถามข้อมูลสินค้าในห้างสรรพสินค้า ตลอดจนการแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับสินค้า (3) มอบหมายให้นักศึกษาฟังบทสนทนาการซื้อของในห้างสรรพสินค้าใน YouTube (ใน Google Classroom) และศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมในเอกสารการเรียน (4) อธิบายเกี่ยวกับคำคุณศัพท์บอกลักษณะ คำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงของประโยค ตลอดจนการเปลี่ยนคำนำหน้าคำนามให้เป็นคำสรรพนาม และให้ศึกษาเอกสารประกอบการสอนของบทที่ 3 พร้อมทำแบบฝึกหัดทั้งในเอกสารประกอบการสอนและแบบฝึกหัดในระบบออนไลน์ (5) กลุ่มที่ได้รับมอบหมายนำเสนองาน (ครั้งที่ 3) (6) มอบหมายให้นักศึกษาดูคลิปเพิ่มเติมใน YouTube: หัวข้อกรรมตรง และคำสรรพนาม (ใน Google Classroom ) (7) นักศึกษาร่วมกันอภิปราย และสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ในบทที่ 3 ตลอดจนตอบข้อซักถาม และอธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัด (8) มอบหมายงานประจำบทที่ 3 โดยให้จับคู่ทำคลิปบทสนทนา เลียนแบบสถานการณ์ในการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า (ชิ้นที 3) ส่งใน Google Classroom (9) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 3 |
|
12-15 |
บทที่ 4 การซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต - การซื้อสินค้าและการถามหาสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต - การขอคำแนะนำและการขอร้อง ไวยากรณ์ - คำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรองของประโยค (บุรุษสรรพนาม) - คำบุพบทบอกสถานที่และคำนาม - ประโยคคำสั่งหรือขอร้อง (Imperativ) |
12 |
|
(1) เช็คชื่อผู้เข้าเรียน อธิบายลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การมอบหมายงาน และการส่งงานสำหรับบทที่ 4 (2) นักศึกษาฟังตัวอย่างการสนทนาประจำบทเกี่ยวกับการซื้อสินค้าและการถามหาสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต (3) มอบหมายให้นักศึกษาดูคลิปการสนทนาที่เกี่ยวข้องใน youtube (4) ศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมในเอกสารการเรียนและฟังบทสนทนาที่เกี่ยวข้องใน Google Classroom (5) กลุ่มที่ได้รับมอบหมายนำเสนองาน (ครั้งที่ 4) (6) อธิบายเกี่ยวกับเรื่องกรรมรองในประโยค ตลอดจนคำบุพบทบอกสถานที่และคำนาม และให้ศึกษาเอกสารประกอบการสอนของบทที่ 4 พร้อมทำแบบฝึกหัดทั้งในเอกสารประกอบการสอนและแบบฝึกหัดในระบบออนไลน์ (7) มอบหมายให้นักศึกษาดูคลิปใน YouTube: หัวข้อประโยคคำสั่งหรือขอร้อง และศึกษาเนื้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมในเอกสารประกอบการสอนและใน Google Classroom (8) นักศึกษาร่วมกันอภิปราย และสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ในบทที่ 4 ตลอดจนตอบข้อซักถาม และอธิบายถึงข้อผิดพลาดที่พบในแบบฝึกหัด (9) มอบหมายงานประจำบทที่ 4 โดยให้จับคู่ทำคลิปบทสนทนา เลียนแบบสถานการณ์ในซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยให้มีการใช้รูปแบบประโยคคำสั่งหรือขอร้องในรูปแบบต่างๆ (ชิ้นที 4) ส่งใน Google Classroom (10) ทดสอบเก็บคะแนนครั้งที่ 4 |
|
รวมจำนวนชั่วโมง | 45 | 0 |
8. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
Course assessment
Course assessment
วิธีการประเมิน Assessment Method |
CLO |
สัดส่วนคะแนน Score breakdown |
หมายเหตุ Note |
---|---|---|---|
- การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น - พฤติกรรมการส่งงาน |
|
10 | สัปดาห์ที่ 1-15 |
คลิปบทสนทนาประจำบท |
|
10 | ส่งสัปดาห์ที่ 3, 7, 11, 15 |
การสอบเก็บคะแนน 4 ครั้ง |
|
10 | สัปดาห์ที่ 3, 7, 11, 15 |
การสอบกลางภาค |
|
20 | ตามปฏิทินมหาวิทยาลัย |
การสอบปลายภาค |
|
30 | ตามปฏิทินมหาวิทยาลัย |
การนำเสนอ |
|
20 | สัปดาห์ที่ สัปดาห์ที่ 3, 6, 9, 12 |
สัดส่วนคะแนนรวม | 100 |
9. ตําราและเอกสารประกอบการสอน
Textbook and instructional materials
Textbook and instructional materials
ประเภทตำรา Type |
รายละเอียด Description |
ประเภทผู้แต่ง Author |
ไฟล์ File |
---|---|---|---|
เอกสารประกอบการสอน | บุญมา พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2562). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา HS721101. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. | อาจารย์ภายในคณะ | |
หนังสือ หรือ ตำรา | Dallapiazza, Rosa-Maria et al. Tangram akutuell 1 Lektion 1-4. Max Hueber Verlg. Germany, 2009. | ||
แอพพลิเคชั่น/เว็บไซต์ | https://www.hueber.de/einstufungstests/tangram_a1 2016 | ||
แอพพลิเคชั่น/เว็บไซต์ |
https://www.hueber.de/seite1/lehren_b1_l5_tana 2016 |
||
แอพพลิเคชั่น/เว็บไซต์ | http://www.hueber.de/shared/uebungen/schritte-international | ||
แอพพลิเคชั่น/เว็บไซต์ | http://de.langenscheidt.com | ||
เอกสารประกอบการสอน | บุญมา พรหมสาขา ณ สกลนคร. (ฉบับร่าง 2565). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา HS721101. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. | อาจารย์ภายในคณะ |
10. การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
ผลการเรียนรู้
Curriculum mapping
Curriculum mapping
1.1 | 1.2 | 1.3 | 1.4 | 2.1 | 2.2 | 2.3 | 2.4 | 2.5 | 3.1 | 3.2 | 4.1 | 4.2 | 4.3 | 4.4 | 5.1 | 5.2 | 5.3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายละเอียดของผลการเรียนรู้ของแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันตก (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
1. ด้านคุณธรรม มีพฤติกรรมเชิงคุณภาพ ดังนี้
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ
1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3 มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
1.4 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
2. ด้านความรู้ ดังนี้
2.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน
2.2 มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาภาษาสเปน หรือภาษาเยอรมัน หรือภาษาฝรั่งเศส สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ/วิชาชีพในสถานการณ์ต่างๆได้
2.3 มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการใหม่ๆ ในสาขาวิชา รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชา
2.4 มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของอารยธรรมเยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน
2.5 มีความรู้ความเข้าใจในภาษาสเปน หรือภาษาเยอรมัน หรือฝรั่งเศส ที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
3. ด้านทักษะทางปัญญา ดังนี้
3.1 สามารถค้นหา ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้และการแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนในการแก้ปัญหาการทำงานได้
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ดังนี้
4.1 มีภาวะผู้นำ มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม
4.2 ตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
4.3 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้เหมาะสม
4.4 มีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและสาขาวิชาการ/วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
5.1 มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพได้
5.2 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในสาขาวิชาการ/วิชาชีพได้
5.3 มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาทั้งทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนและสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ