รายละเอียดรายละเอียดของรายวิชา
สถานะ
Status
หลักสูตร
Academic Program
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Arts
สาขาวิชา
Field
สาขาวิชาภาษาไทย
Thai
วิชาเอก
Major
หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.
2564
ภาค/ปีการศึกษา
Semester/Academic Year
1 / 2566
1. รหัส ชื่อรายวิชา/ชุดวิชา และจำนวนหน่วยกิต
Course Code and Number(s) of Credits
Course Code and Number(s) of Credits
2. ประเภทของรายวิชา/ชุดวิชา และหลักสูตร
Type of the Subject Course
Type of the Subject Course
3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอน
Course Coordinator and Lecturer
Course Coordinator and Lecturer
4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา/ชุดวิชา
Course learning outcomes-CLO
Course learning outcomes-CLO
5. คําอธิบายรายวิชา / ชุดวิชา
Description of Subject Course/Module
Description of Subject Course/Module
6. รูปแบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
Delivery mode and Learning management Method
Delivery mode and Learning management Method
7. แผนการจัดการเรียนรู้
Lesson plan
Lesson plan
สัปดาห์ที่ Week |
หัวข้อการสอน Teaching topics |
จํานวน ชั่วโมง Number of hours |
CLO |
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/ เอกสารและช่องทางการสอน Teaching and Learning Activities, Instructional Media/ Materials, and Teaching Channels |
|
---|---|---|---|---|---|
ทฤษฎี | ปฏิบัติ | ||||
1 |
1. แนะนำรายวิชาและข้อตกลงเบื้องต้น 2. ทดสอบความรู้ก่อนเรียน 3. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนด |
3 |
|
(1) พบนักศึกษาในชั้นเรียน เพื่อชี้แจงและแนะนำการเรียนและการส่งงานทั้งผ่านระบบออนไซต์ และระบบออนไลน์ และอธิบายประมวลรายวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้พร้อมกับอภิปรายและตกลงรูปแบบการประเมินร่วมกัน (2) วัดความรู้นักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาเบื้องต้นจากการตอบคำถามใน Quizizz (3) แบ่งกลุ่ม และมอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเรื่อง การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ มานำเสนอในสัปดาห์ที่ 2 (4) มอบหมายให้นักศึกษาสรุปสาระสำคัญจาก VDO clip - Clip 1: Language Learning Approach เพื่อเตรียมอภิปรายในสัปดาห์ที่ 3 |
|
2-3 |
บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐานในการเรียนรู้ภาษา 1.1 แนวคิดทางภาษาศาสตร์ 1.2 แนวคิดทางจิตวิทยา 1.3 แนวคิดทางมานุษยวิทยา |
6 |
|
(1) พบนักศึกษาในชั้นเรียน (2) นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียนในหัวข้อ การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ (3) ผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันอภิปรายเนื้อหาจากการนำเสนอ การเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ โดยเน้นสะท้อนประเด็น การเรียนรู้ภาษาของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร เพื่อนำไปสู่ ข้อสรุปเพื่อนำไปพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ภาษาของตนเอง (4) ผู้สอนและนักศึกษาอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเนื้อหาใน VDO Clip 1: Language Learning Approach (5) ผู้สอนบรรยายสรุปสาระสำคัญของแนวคิดพื้นฐานในการเรียนรู้ภาษา (6) มอบหมายให้นักศึกษาสรุปสาระสำคัญจาก VDO Clip 2: Psycholinguistics VDO Clip 3: Psychology of learning เพื่อเตรียมอภิปรายในสัปดาห์ที่ 4-6 |
|
4-6 |
บทที่ 2 ภาษาศาสตร์จิตวิทยา และจิตวิทยาการเรียนรู้ 2.1 ความหมายและขอบเขต 2.2 แผนผังแนวคิดภาษาศาสตร์จิตวิทยา และจิตวิทยาการเรียนรู้ 2.3 การรับภาษา (Language Acquisition) |
9 |
|
(1) พบนักศึกษาในชั้นเรียน (2) ผู้สอนและนักศึกษาอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเนื้อหาใน VDO Clip 2: Psycholinguistics VDO Clip 3: Psychology of learning พร้อมทั้งสะท้อนประเด็นว่า นักศึกษามีจิตวิทยาในการเรียนรู้ภาษาหรือไม่ อย่างไร เพื่อนำไปสู่แนวทางการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ภาษาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศอื่น ๆ (3) ผู้สอนบรรยายสรุปสาระสำคัญของภาษาศาสตร์จิตวิทยา และจิตวิทยาการเรียนรู้ (4) ทบทวนความรู้จากเนื้อหาด้วยเกม ฺBlooket (5) มอบหมายให้นักศึกษาสรุปสาระสำคัญจาก VDO Clip 4: Language Learning Theory เพื่อเตรียมอภิปรายในสัปดาห์ที่ 7-8 |
|
7-8 |
บทที่ 3 ทฤษฎีการเรียนรู้ 3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาแม่ 3.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาที่สอง |
6 |
|
(1) พบนักศึกษาในชั้นเรียน (2) ผู้สอนและนักศึกษาอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเนื้อหาใน VDO Clip 4: Language Learning Theory พร้อมทั้งร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาของนักศึกษาในอดีตที่ผ่านมาว่า ได้เรียนรู้ภาษาโดยใช้ทฤษฎีใด และนักศึกษาคิดว่าทฤษฎีใดที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ภาษาของแต่ละบุคคล เพื่อนำทฤษฎีดังกล่าวมาใช้ในการเรียนรูภาษาของตนในอนาคตต่อไป (3) ผู้สอนบรรยายสรุปสาระสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ (4) ทบทวนความรู้เนื้อหาบทที่ 1-3 ด้วยการตอบคำถามใน Quizizz (5) มอบหมายให้นักศึกษานำทฤษฎีการเรียนรู้ภาษามาสรุปเป็น infographic (5 คะแนน) (งานเดี่ยว) (6) มอบหมายให้นักศึกษาผลิตผลงานเป็นข้อสอบกลางภาค (30 คะแนน) โดยผู้สอนมอบหมายให้นักศึกษาผลิตวิดีโอนำเสนอเนื้อหาตามหัวข้อที่กำหนด โดยบันทึกเป็น Video Presentation ความยาว 10-15 นาที ส่งเป็น VDO clip ผ่านทาง Google Classroom และส่ง VDO clip นี้ลงในไลน์กลุ่มของรายวิชา เพื่อให้เพื่อนในชั้นเรียนได้รับชมก่อนที่จะมาอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์การนำเสนอของตนในสัปดาห์ที่ 10 |
|
9 | สอบกลางภาค | 3 |
|
นักศึกษาผลิตวิดีโอนำเสนอเนื้อหาตามหัวข้อที่กำหนด โดยบันทึกเป็น Video Presentation ความยาว 10-15 นาที ส่งเป็น VDO clip ผ่านทาง Google Classroom และส่ง VDO clip นี้ลงในไลน์กลุ่มของรายวิชา เพื่อให้เพื่อนในชั้นเรียนได้รับชมก่อนที่จะมาอภิปราย และวิพากษ์วิจารณ์การนำเสนอของตนในสัปดาห์ที่ 10 | |
10 | การอภิปราย และวิพากษ์วิจารณ์ผลงานการนำเสนอ Mid term video presentation ของนักศึกษารายบุคคล | 3 |
|
(1) ผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันอภิปราย และวิพากษ์วิจารณ์การนำเสนอ Mid term video presentation ของนักศึกษารายบุคคล และนำข้อแนะนำไปปรับปรุงแก้ไขการผลิต video presentation ให้ดีขึ้นในรายวิชานี้และรายวิชาอื่น ๆ ในอนาคตต่อไป (2) มอบหมายให้นักศึกษาสรุปสาระสำคัญจาก VDO Clip 5: การเรียนรู้ภาษาแม่ เพื่อเตรียมอภิปรายในสัปดาห์ที่ 11-12 |
|
11-12 |
บทที่ 4 การเรียนรู้ภาษาแม่ 4.1 พัฒนาการทางภาษาของเด็ก 4.2 ขั้นตอนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก 4.3 สมองกับการเรียนรู้ภาษา และพัฒนาการทางภาษาของเด็ก 4.4 อายุกับการเรียนรู้ภาษาแม่ 4.5 องค์ประกอบในการเรียนรู้ภาษาแม่ |
6 |
|
(1) พบนักศึกษาในชั้นเรียน (2) นำเข้าสู่เนื้อหาด้วยการทำแบบทดสอบความถนัดของสมอง และนำผลการทดสอบความถนัดของสมองของแต่ละคนมาอภิปรายร่วมกัน (3) สุ่มนักศึกษาสรุปสาระสำคัญที่ได้จาก VDO Clip 5: การเรียนรู้ภาษาแม่ และร่วมกันอภิปรายว่า นักศึกษาได้เรียนรู้ภาษาแม่ของตนเองอย่างไร มีข้อบกพร่องหรือไม่ และนำไปสู่ข้อสรุปเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาแม่ของตนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป (4) ผู้สอนบรรยายสรุปสาระสำคัญของการเรียนรู้ภาษาแม่ (5) มอบหมายให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อนำเสนอในสัปดาห์ที่ 13-14 |
|
13-14 |
บทที่ 5 การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 5.1 การเรียนรู้ภาษาที่สอง และภาษาต่างประเทศ 5.2 อายุกับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 5.3 ธรรมชาติ และอิทธิพลที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ |
6 |
|
(1) พบนักศึกษาในชั้นเรียน (2) นักศึกษานำเสนอเนื้อหาหน้าชั้นเรียนเรื่อง การเรียนรู้ภาษาต่างปรเทศ ตามลำดับที่กำหนด พร้อมทั้งร่วมกันสะท้อนถึงประเด็นปัญหาข้อบกพร่องในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของคนไทย หรือของตนในอดีตที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้พัฒนายิ่งขึ้นต่อไป (3) ผู้สอนบรรยายสรุปสาระสำคัญของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (4) มอบหมายให้นักศึกษาจับคู่เพื่อเตรียมสาธิตการเรียนรู้ภาษาแม่และภาษาต่างประเทศในรูปแบบของห้องเรียนออนไซต์และออนไลน์ในสัปดาห์ที่ 15-16 (20 คะแนน) (5) มอบหมายให้นักศึกษาส่งแผนการสอน ใบความรู้ ใบงาน และสื่อประกอบการสอน ผ่าน Google Classroom ก่อนการสาธิต (5 คะแนน) |
|
15-16 | การสาธิตการเรียนรู้ภาษาแม่และภาษาต่างประเทศในรูปแบบของห้องเรียนออนไซต์และออนไลน์ | 6 |
|
1) พบนักศึกษาในชั้นเรียน (2) นักศึกษาสาธิตการเรียนรู้ภาษาแม่และภาษาต่างประเทศในรูปแบบของห้องเรียนออนไซต์และห้องเรียนออนไลน์ ตามลำดับที่ผู้สอนกำหนด (3) ผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์การสาธิตการเรียนรู้ภาษาแม่และภาษาต่างประเทศในรูปแบบของห้องเรียนออนไซต์และห้องเรียนออนไลน์ของเพื่อนแต่ละคู่ และสรุปข้อดีข้อเสีย เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแนวปฏิบัติในการเรียนรู้ภาษา และการถ่ายทอดความรู้ทางภาษาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป (4) ผู้สอนสรุปสาระสำคัญของการเรียนรู้ภาษาแม่และภาษาต่างประเทศ (5) มอบหมายงานสำหรับผลิตผลงานเป็นข้อสอบปลายภาคตามหัวข้อที่กำหนด ส่งผ่าน Google Classroom (30 คะแนน) |
|
รวมจำนวนชั่วโมง | 48 | 0 |
8. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
Course assessment
Course assessment
วิธีการประเมิน Assessment Method |
CLO |
สัดส่วนคะแนน Score breakdown |
หมายเหตุ Note |
---|---|---|---|
การเข้าเรียนในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมใน Discussion Forum, การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย, การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน (งานกลุ่ม) |
|
20 | สัปดาห์ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7,8, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 |
การนำเสนอการสาธิตการเรียนรู้ภาษาแม่และภาษาต่างประเทศในรูปแบบของห้องเรียนออนไซต์และห้องเรียนออนไลน์ (งานคู่) |
|
20 | สัปดาห์ที่ 15-16 |
การสอบกลางภาค |
|
30 | สัปดาห์ที่ 9 |
การสอบปลายภาค |
|
30 | ตามปฏิทินของมหาวิทยาลัย |
สัดส่วนคะแนนรวม | 100 |
9. ตําราและเอกสารประกอบการสอน
Textbook and instructional materials
Textbook and instructional materials
ประเภทตำรา Type |
รายละเอียด Description |
ประเภทผู้แต่ง Author |
ไฟล์ File |
---|---|---|---|
หนังสือ หรือ ตำรา | กมลรัตน์ คนองเดช. (2542). พัฒนาการทางภาษากับการสอนภาษาเด็กต่างวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2 ยะลา : สถาบันราชภัฏยะลา. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | เกษมศรี วงศ์เลิศวิทย์. (2538). การเรียนการสอนภาษา. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2524). จิตวิทยาจริยธรรมและจิตวิทยาภาษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2537). ภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | Clark, Eve V. (2009). First language acquisition. 2nd ed. Cambridge : Cambridge University Press. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | David Nunan and Kathleen M. Bailey. (2009). Exploring second language classroom research: a comprehensive guide. Australia : Heinle Cengage learning. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | Grabe, William. (2009). Reading in a second language : moving from theory to practice. New York : Cambridge University Press. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | Raemsamon Yusathaphon. (1983). A Comparative study of Techniques and Methods in Teaching the Mother Tongue Language at the Elementary level Between Thai and English Languages Bangkok : Chulalongkorn University. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | Ortega, Lourdes. (2009). Understanding second language acquisition. London : Hodder Education. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา |
ศรียา นิยมธรรม และประภัสสร นิยมธรรม. (2519). พัฒนาการทางภาษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บรรณากิจเทรดดิ้ง. |
อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา |
จรัลวิไล จรูญโรจน์, ม,ล. (2558). ภาษาศาสตรเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. |
อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนคิด. กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร์. | ||
หนังสือ หรือ ตำรา | ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2540). การเรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : วชิราวุธวิทยาลัย. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | สุมน อมรวิวัฒน์. (2542). การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์: ทัดษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์. โครงการกิตติเมธีสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬามหาวิทยาลัย. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | ฉัตรสุดา ดวงพลอย. (2526), แนวความคิดภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยาและจิตวิทยาการเรียนรู้. และการอ่านภาษาอังกฤษ, วารสารภาษาปริทัศน์, 4(1), 1-15. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Krashen, S.D. (1976). Formal and Informal Linguistic Environments in Language Acquisition and Language Learning. TESOL, 32(126), pp.157-168. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | ศิริมา ปุรินทราภิบาล. (2553). ภาษาแม่กับการเรียนภาษาต่างประเทศ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(2), 47-77. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | ทัศนา แขมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สุกฤษดิ์วงศ์. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | เนาวนิตย์ สงคราม และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). งานวิจัยเรื่องระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงเพื่อเสริมสร้างทักษะทางปัญญาของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. ทุนวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2555. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | Ellis, R. (1994). The Study of Second Language Acquisition. Oxford: Oxford University Press. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | อรรชนิดา หวานคง. การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 . วารสารสถาบนวิจัยญาณสังวร. 7(2), 303-314. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | Krashen, S.D. (1982). Principles and Practice in Second Language Acquisition. California: Pergamon Press Inc. |
10. การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
ผลการเรียนรู้
Curriculum mapping
Curriculum mapping
1.1 | 1.2 | 1.3 | 1.4 | 2.1 | 2.2 | 2.3 | 2.4 | 2.5 | 3.1 | 3.2 | 4.1 | 4.2 | 4.3 | 5.1 | 5.2 | 5.3 | 5.4 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายละเอียดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
1. ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
1.1 มีทัศนคติที่ดีต่อการงานและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
1.2 ซื่อสัตย์ สุจริต และมีวินัย เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.3 มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและสังคมที่มีคุณธรรมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
1.4 มีความรอบรู้และรอบคอบในการใช้ภาษาไทย และมีเจตคติที่ดีต่อภาษาและวัฒนธรรมไทย
2. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
2.1 มีความรอบรู้ในภาษาไทย ภาษาศาสตร์ และวรรณกรรม
2.2 มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการทางวิชาการกับทักษะวิชาชีพ
2.3 รู้เท่าทันสื่อ สามารถส่งสาร รับสาร และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการถ่ายทอดภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
2.5 มีความรู้ความเข้าใจวรรณกรรมและสามารถสร้างสรรค์วรรณกรรมได้
3. ผลการเรียนรู้ด้านปัญญา
3.1 มีทักษะการคิดวิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินค่า
3.2 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาษาไทยในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิผล
4. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.2 ตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
4.3 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและสาขาวิชาการ/อาชีพอย่างต่อเนื่อง
5. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 การสอนในรายวิชาวิจัย หรือสถิติ หรือรายวิชาศึกษาทั่วไป
5.2 การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ e-Learning และการทดสอบความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศตามเกณฑ์มาตรฐานของมหาวิทยาลัย
5.3 ฝึกการนำเสนอผลที่ค้นคว้าด้วยตนเองในห้องเรียน
5.4 สามารถใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาค้นคว้าวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ