รายละเอียดรายละเอียดของรายวิชา
สถานะ
Status
หลักสูตร
Academic Program
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Arts
สาขาวิชา
Field
สาขาวิชาสังคมศาสตร์
Social Sciences
วิชาเอก
Major
หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.
2561
ภาค/ปีการศึกษา
Semester/Academic Year
1 / 2566
1. รหัส ชื่อรายวิชา/ชุดวิชา และจำนวนหน่วยกิต
Course Code and Number(s) of Credits
Course Code and Number(s) of Credits
2. ประเภทของรายวิชา/ชุดวิชา และหลักสูตร
Type of the Subject Course
Type of the Subject Course
3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอน
Course Coordinator and Lecturer
Course Coordinator and Lecturer
4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา/ชุดวิชา
Course learning outcomes-CLO
Course learning outcomes-CLO
5. คําอธิบายรายวิชา / ชุดวิชา
Description of Subject Course/Module
Description of Subject Course/Module
6. รูปแบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
Delivery mode and Learning management Method
Delivery mode and Learning management Method
7. แผนการจัดการเรียนรู้
Lesson plan
Lesson plan
สัปดาห์ที่ Week |
หัวข้อการสอน Teaching topics |
จํานวน ชั่วโมง Number of hours |
CLO |
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/ เอกสารและช่องทางการสอน Teaching and Learning Activities, Instructional Media/ Materials, and Teaching Channels |
|
---|---|---|---|---|---|
ทฤษฎี | ปฏิบัติ | ||||
1-2 |
บทที่ 1 การแสวงหาความรู้ของมนุษย์ 1.1 ความหมายของความรู้ 1.2 ที่มาของความรู้ 1.3 องค์ประกอบของความรู้ 1.4 ข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นในการแสวงหาความรู้ |
6 |
|
(1) พบนักศึกษา อธิบายแผนการสอนเป็นไฟล์ PDF ที่อัพโหลดลงบน Google Classroom แนะนำการเรียนการสอน และแนวทางการประเมินผลรายวิชา (2) บรรยายเนื้อหาภาคทฤษฎีโดยใช้สไลด์ Presentation เกี่ยวกับความหมายของความรู้ ที่มาของความรู้ องค์ประกอบของความรู้ และข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นในการแสวงหาความรู้ และกรณีศึกษา (3) นักศึกษาวิพากษ์และอภิปรายกรณีตัวอย่างร่วมกัน (4) ผู้บรรยายตอบข้อซักถามเกี่ยวกับปัญหาของเนื้อหาในรายวิชา |
|
3-4 |
บทที่ 2 การศึกษาสังคมในฐานะที่เป็นศาสตร์ 2.1 ความหมายของศาสตร์ 2.2 ข้อตกลงเบื้องต้นของศาสตร์ 2.3 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 2.4 สังคมศาสตร์กับความเป็นศาสตร์ 2.5 ระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร์ 2.6 ความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์ธรรมชาติกับสังคมศาสตร์ 2.7 ข้อจำกัดของสังคมศาสตร์ |
6 |
|
(1) บรรยายเนื้อหาภาคทฤษฎีโดยใช้สไลด์ Presentation เกี่ยวกับการศึกษาสังคมในฐานะที่เป็นศาสตร์ และยกตัวอย่างกรณีศึกษา (2) นักศึกษาวิพากษ์และอภิปรายกรณีตัวอย่างร่วมกัน (3) ผู้บรรยายตอบข้อซักถามเกี่ยวกับปัญหาของเนื้อหาในรายวิชา |
|
5-6 |
บทที่ 3 พัฒนาการของการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ |
6 |
|
(1) บรรยายเนื้อหาภาคทฤษฎีโดยใช้สไลด์ Presentation และยกตัวอย่างกรณีศึกษา (2) นักศึกษาวิพากษ์และอภิปรายกรณีตัวอย่างร่วมกัน (3) ผู้บรรยายตอบข้อซักถามเกี่ยวกับปัญหาของเนื้อหาในรายวิชา |
|
7-8 |
บทที่ 4 แนวความคิดทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ 4.1 ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte) กับความพยายามในการทำให้การศึกษาสังคมเป็น “ศาสตร์” 4.2 จุดเริ่มต้นของแนวคิดปฏิฐานนิยม (positivism) 4.3 วิธีวิทยา (methodology) และกฎสามขั้นตอนของกองต์ |
6 |
|
(1) บรรยายเนื้อหาภาคทฤษฎีโดยใช้สไลด์ Presentation และยกตัวอย่างกรณีศึกษา (2) นักศึกษาวิพากษ์และอภิปรายกรณีตัวอย่างร่วมกัน (3) ผู้บรรยายตอบข้อซักถามเกี่ยวกับปัญหาของเนื้อหาในรายวิชา |
|
9-10 |
บทที่ 5 กระบวนทัศน์และปรัชญาในการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ 5.1 ความหมายของกระบวนทัศน์ (paradigm) 5.2 อิทธิพลของกระบวนทัศน์ต่อการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ 5.3 การเปรียบเทียบมุมมองด้านญาณวิทยา ภววิทยาและวิธีวิทยาของการแสวงหาความรู้แบบต่างๆ ได้แก่ 1) ปรัชญาปฏิฐานนิยม (positivism) 2) ปรัชญาปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) 3) ปรัชญาสัจนิยม (realism) |
3 |
|
สัปดาห์ที่ 9 - งดการเรียนการสอนเนื่องจากการสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย สัปดาห์ที่ 10 (1) บรรยายเนื้อหาภาคทฤษฎีโดยใช้สไลด์ Presentation และยกตัวอย่างกรณีศึกษา (2) นักศึกษาวิพากษ์และอภิปรายกรณีตัวอย่างร่วมกัน (3) ผู้บรรยายตอบข้อซักถามเกี่ยวกับปัญหาของเนื้อหาในรายวิชา |
|
11-12 |
บทที่ 6 กลุ่มแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์ 6.1 แนวคิดทฤษฎีกลุ่มโครงสร้างหน้าที่ (Structural Functionalism) และหลังโครงสร้างหน้าที่ (Post-Structural Functionalism) 6.2 แนวคิดทันสมัยนิยม (Modernism) และหลังทันสมัยนิยม (Post-modernism) |
6 |
|
(1) บรรยายเนื้อหาภาคทฤษฎีโดยใช้สไลด์ Presentation และยกตัวอย่างกรณีศึกษา (2) นักศึกษาวิพากษ์และอภิปรายกรณีตัวอย่างร่วมกัน (3) ผู้บรรยายตอบข้อซักถามเกี่ยวกับปัญหาของเนื้อหาในรายวิชา |
|
13 |
บทที่ 7 ศาสตร์-อศาสตร์: ข้อถกเถียงที่มีต่อภววิทยาแบบสมัยใหม่ของสังคมศาสตร์ 7.1 ข้อวิพากษ์ต่อความเป็นศาสตร์และความเป็นสมัยใหม่ 7.2 ปัญหาของการแบ่งแยกวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์ออกเป็นสอง : จุดเปลี่ยนทางภววิทยาและการนิยามความจริงในโลกปัจจุบัน |
6 |
|
(1) บรรยายเนื้อหาภาคทฤษฎีโดยใช้สไลด์ Presentation และยกตัวอย่างกรณีศึกษา (2) นักศึกษาวิพากษ์และอภิปรายกรณีตัวอย่างร่วมกัน (3) ผู้บรรยายตอบข้อซักถามเกี่ยวกับปัญหาของเนื้อหาในรายวิชา |
|
14-15 |
การประยุกต์ใช้แนวคิด/ทฤษฎีในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์ - นักศึกษานำเสนอการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมโดยใช้วิธีการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ |
6 |
|
(1) นักศึกษานำเสนอรายงานผลการศึกษาและการค้นคว้า (2) การร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ การซักถาม และการตอบคำถาม |
|
รวมจำนวนชั่วโมง | 45 | 0 |
8. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
Course assessment
Course assessment
วิธีการประเมิน Assessment Method |
CLO |
สัดส่วนคะแนน Score breakdown |
หมายเหตุ Note |
---|---|---|---|
งานกลุ่ม - การนำเสนอบทความที่ได้รับมอบหมาย |
|
10 | |
งานเดี่ยว - การสรุปประเด็นสำคัญและเขียนแสดงความคิดเห็นจากบทความที่กำหนด |
|
30 | |
งานเดี่ยว - รายงานปลายภาค |
|
25 | |
งานเดี่ยว - การนำเสนอรายงานปลายภาค |
|
10 | |
การสอบปลายภาค |
|
25 | |
สัดส่วนคะแนนรวม | 100 |
9. ตําราและเอกสารประกอบการสอน
Textbook and instructional materials
Textbook and instructional materials
ประเภทตำรา Type |
รายละเอียด Description |
ประเภทผู้แต่ง Author |
ไฟล์ File |
---|---|---|---|
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Evelyne Huber, Dietrich Rueschemeyer and John D. Stephens, “The Impact of Economic Development on Democracy,” Journal of Economic Perspectives, vol. 7, no. 3 (Summer 1993): 71-86. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Easterly, William & Levine, Ross, 2003. "Tropics, germs, and crops: how endowments influence economic development," Journal of Monetary Economics, Elsevier, vol. 50 (1), pages 3-39. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Amartya Sen, “Ingredients of Famine Analysis: Availability and Entitlements,” The Quarterly Journal of Economics, Volume 96, Issue 3, August 1981, Pages 433–464, https://doi.org/10.2307/1882681 | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทความในหนังสือ หรือบทความสารานุกรม | David N. Balaam and Michael Veseth, “Critical Perspectives on International Political Economy,” in Introduction to International Political Economy, 3rd ed. (Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice Hall, 2004), 93-112. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทความในหนังสือ หรือบทความสารานุกรม | David N. Balaam and Michael Veseth, “Wealth and Power: Mercantilism and Economic Nationalism,” in Introduction to International Political Economy, 3rd ed. (Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice Hall, 2004), 26-4 | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทความในหนังสือ หรือบทความสารานุกรม | David N. Balaam and Michael Veseth, “Laissez-Faire, Laissez-Passer: The Liberal IPE Perspective,” in Introduction to International Political Economy, 3rd ed. (Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice Hall, 2004), 46-69. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทความในหนังสือ หรือบทความสารานุกรม | David N. Balaam and Michael Veseth, “Marx Lenin, and the Structuralist Perspective,” in Introduction to International Political Economy, 3rd ed. (Upper Saddle River, N.J.: Pearson/Prentice Hall, 2004), 70-92. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | Babbie, Earl. 2011. The Basics of Social Research, Fifth Edition. Belmont, CA: Wadsworth. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | Latour, Bruno and Steve Woolgar. 1979[1986]. Laboratory Life: The [Social] Construction of Scientific Facts. Princeton: Princeton University Press. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | Latour, Bruno. 1993. We Have Never Been Modern, translated by Catherine Porter. Cambridege, MA: Harvard University Press. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | จันทนี เจริญศรี. 2545. โพสต์โมเดิร์นกับสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: วิภาษา. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | จันทนี เจริญศรี (บรรณาธิการ). 2559. ศาสตร์ อศาสตร์: เข้ามาข้างนอก ออกไปข้างใน. นนทบุรี: ภาพการพิมพ์. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. 2559.ปรัชญาสังคมศาสตร์: การอธิบายทางสังคม รากฐานสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือ หรือ ตำรา | สุภางค์ จันทวานิช. 2551. ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
หนังสือพจนานุกรม หรือหนังสือแปล | ลิวอิส เอ. โคเซอร์. 2537. แนวความคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา ตอน ออกัสต์ กองต์. แปลจาก“Masters of Sociological Thought: Ideas in Historical and Social Context.”แปลโดยจามะรี พิทักษ์วงษ์ . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | เด่นพงษ์ แสนคำ. 2561. “ความเป็นวิทยาศาสตร์ของสังคมศาสตร์: บทวิเคราะห์จากปรัชญาวิทยาศาสตร์ของคาร์ล ปอบเปอร์.” วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น,5(1): 1-17. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. 2553. “การแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ : เปรียบเทียบระหว่างแนวปฏิฐานนิยมแนวปรากฏการณ์นิยมและแนวสัจนิยม.”วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 2(1), 1-70. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | สุมาลี ไชยศุภรากุล. 2558. “กระบวนทัศน์ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์.”วารสารจันทรเกษม, 21(40), 1-8. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Georg Menz, “A Genealogy of the Field from Adam Smith to the Mid-Twentieth Century,” Comparative Political Economy: Contours of a Subfield. Oxford University Press, 2017. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | แชมป์นิ่มไพบูลย์ และ ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, ลัทธิพาณิชย์นิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 21, วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (2021): 102-120. | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทความในหนังสือ หรือบทความสารานุกรม | ซีมอน เฟาท์ และคณะ, “ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เป็นรากฐาน,” อดัม สมิธ, คาร์ล มาร์กซ์, จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์, ใน เศรษฐศาสตร์กับสังคมประชาธิปไตย (กรุงเทพฯ มูลนิธิฟรีดริค เอแบรท์, 2558), (14-60), https://library.fes.de/pdf-files/bueros/thailand/11666.pdf | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย | |
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | ภัสสร ภัทรเภตรา, The Anti-Politics Machine: “Development,” Depoliticization, and Bureaucratic Power in Lesotho, ปริทัศน์หนังสือ: วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2554), https://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2012/09/JSA-30-2-book-review.pdf | อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย |
10. การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
ผลการเรียนรู้
Curriculum mapping
Curriculum mapping
1.1 | 1.2 | 1.3 | 1.4 | 2.1 | 2.2 | 2.3 | 2.4 | 3.1 | 3.2 | 4.1 | 4.2 | 4.3 | 4.4 | 5.1 | 5.2 | 5.3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายละเอียดของผลการเรียนรู้ของแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
1. ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3 มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
1.4 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและการแสดงออกซึ่งความมีคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
2. ด้านความรู้
2.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาสังคมศาสตร์
2.2 มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ/วิชาชีพในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
2.3 มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการใหม่ๆ ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทางสังคม
2.4 ตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับในสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และมีความหลากหลายในการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถค้นหา ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้และการแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนในการแก้ปัญหาการทำงานได้จริง
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีภาวะผู้นำ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
บนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม
4.2 รู้ความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและเข้าใจหลักการในสาขาวิชาสังคมสาสตร์เพื่อการปรับตัวในการทำงานและการอยู่รวมกับผู้อื่น
4.4 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนได้
อย่างเหมาะสม
5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ได้
5.2 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในด้านวิชาการได้
5.3 ความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การใช้ภาษาในหลากหลายทักษะ ทั้งด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และสามารถถ่ายทอดสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ