รายละเอียดรายละเอียดของรายวิชา
สถานะ
Status
หลักสูตร
Academic Program
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Arts
สาขาวิชา
Field
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
Sociology and Anthropology)
วิชาเอก
Major
หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.
2565
ภาค/ปีการศึกษา
Semester/Academic Year
1 / 2568
1. รหัส ชื่อรายวิชา/ชุดวิชา และจำนวนหน่วยกิต
Course Code and Number(s) of Credits
Course Code and Number(s) of Credits
2. ประเภทของรายวิชา/ชุดวิชา และหลักสูตร
Type of the Subject Course
Type of the Subject Course
3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอน
Course Coordinator and Lecturer
Course Coordinator and Lecturer
4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา/ชุดวิชา
Course learning outcomes-CLO
Course learning outcomes-CLO
5. คําอธิบายรายวิชา / ชุดวิชา
Description of Subject Course/Module
Description of Subject Course/Module
6. รูปแบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
Delivery mode and Learning management Method
Delivery mode and Learning management Method
7. แผนการจัดการเรียนรู้
Lesson plan
Lesson plan
สัปดาห์ที่ Week |
หัวข้อการสอน Teaching topics |
จํานวน ชั่วโมง Number of hours |
CLO |
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/ เอกสารและช่องทางการสอน Teaching and Learning Activities, Instructional Media/ Materials, and Teaching Channels |
|
---|---|---|---|---|---|
ทฤษฎี | ปฏิบัติ | ||||
1 | แนะนำรายวิชา กิจกรรมการเรียน การสอนการประเมินผล การนำเข้าสู่การเรียน | 3 |
|
- แจกเอกสารประมวลรายวิชา เอกสารแผนการสอน Power Point กรณีศึกษาจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิดิทัศน์ในระบบ E-learning ของรายวิชา -กิจกรรม: Ice-breaking เกม “เศรษฐกิจรอบตัว” นักศึกษาทุกคนจับคู่หรือกลุ่มย่อย พูดคุยกัน 5 นาทีว่า “วันนี้ใช้เงินกับอะไรไปบ้าง?” จากนั้นให้แชร์ไอเท็ม 1 อย่างที่น่าสนใจในกลุ่มใหญ่ พร้อมคำถาม “สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอย่างไร?” - บรรยาย แนะนำรายวิชาเนื้อหา: ประกอบด้วย โครงสร้างรายวิชา / สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ของรายวิชา การประเมินผล รูปแบบการเรียนรู้ (อภิปราย อ่านบทความ วิเคราะห์กรณีศึกษา ฯลฯ) แนวทางการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ความเคารพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น - ทำกิจกรรมเข้าสู่การเรียนผ่านเปิด Mentimeter หรือ Jamboard ให้ทุกคนพิมพ์ “คุณคาดหวังอะไรจากวิชานี้?” หรือ “คำว่าเศรษฐกิจในมุมมองของคุณคืออะไร?” - แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความคาดหมายของผู้เรียนจากการเรียนวิชานี้ผ่านกระดานสนทนาในระบบ E-learning ของรายวิชา |
|
2 | พรมแดนของสังคมวิทยาเชิงเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตร์ | 3 |
|
-แจก Power Point กรณีศึกษางานวิจัยทางสังคมวิทยาเศรษฐกิจ และทางเศรษฐศาสตร์ และ Hand out สำหรับทำกิจกรรมในระบบ E-learning ของรายวิชา -อภิปรายกลุ่ม/ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกิจกรรมเปิดชั้นเรียน: “อะไรคือ ‘เหตุผลทางเศรษฐกิจ’?” ให้นักศึกษาจับกลุ่มย่อย (3–4 คน) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากประสบการณ์ส่วนตัว เช่น ทำไมถึงเลือกซื้อของชิ้นหนึ่งทั้งที่แพงกว่า? ทำไมถึงให้เงินกับคนที่ไม่รู้จัก? แล้วให้แต่ละกลุ่มลองอธิบายพฤติกรรมนี้ในมุม “เศรษฐศาสตร์” และ “สังคมวิทยาเศรษฐกิจ” -บรรยายย่อย + Dialogue-based Learning บรรยายสั้น (15–20 นาที) ด้วยหัวข้อ"เศรษฐศาสตร์เน้นเหตุผล - สังคมวิทยาเน้นความสัมพันธ์" เนื้อหา: ความคิดพื้นฐานของ Homo economicus การวิพากษ์แนวคิด rational choice จากนักสังคมวิทยา เช่น Granovetter, Zelizer แนวคิด “embeddedness” – เศรษฐกิจฝังตัวอยู่ในสังคม -ดูคลิป หรือยูทูป แล้วอภิปรายร่วมกันTED Talk: “Why we do what we do in markets” หรือคลิปสรุปแนวคิด “Homo Economicus vs Homo Sociologicus” -ทำแบบทดสอบย่อย Self Reflection (250–300 คำ) หัวข้อ: “ฉันเคยตัดสินใจทางเศรษฐกิจโดยไม่ได้ใช้เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่?”ให้นักศึกษายกตัวอย่างและอธิบายโดยใช้แนวคิดทางสังคมวิทยาเศรษฐกิจ (อย่างน้อย 1 แนวคิด) |
|
3-4 | แนวคิดสังคมวิทยาเศรษฐกิจคลาสสิคเกี่ยวกับต้นกำเนิด และพัฒนาการของระบบทุนนิยม | 6 |
|
-แจกเอกสารประกอบการสอน “พัฒนาการของระบบทุนนิยม Power Point พร้อมทั้งอัพโหลดสื่อวิดีโอสารคดีกรณีศึกษาและ Hand out สำหรับทำกิจกรรมในระบบ E-learning ของรายวิชา - สัปดาห์ที่ 3 บรรยายเรื่อง “Karl Marx และ Emile Durkheim: โครงสร้างและแรงงาน” - แบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมกลุ่ม ชี้ประเด็นและข้อสังเกตร่วมกันในกิจกรรม “The Capitalist Walk” (เกมจำลองสังคมทุนนิยม) แบ่งนักศึกษาเป็น “กลุ่มทุน–แรงงาน–ผู้บริโภค”ตั้งสถานการณ์ให้แต่ละกลุ่มเจรจาต่อรองในการ “จัดการทรัพยากร-แรงงาน-สินค้า” (เช่น ผลิตของเล่นไม้, ทำแผนธุรกิจ, ฯลฯ) จบเกมด้วยการสะท้อน: ใครได้เปรียบ? ใครเสียเปรียบ? ความรู้สึกแปลกแยกคืออะไร? - อาจารย์ร่วมอภิปรายและตั้งคำถามสำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติม Mini Reflection / จับกลุ่มพูดคุยอภิปรายในกลุ่มย่อย: “มุมมองของ Marx กับ Durkheim แตกต่างกันอย่างไร?” “ในโลกสมัยใหม่ เรายังเห็นแรงงานแปลกแยกอยู่หรือไม่?” -สัปดาห์ที่ 4 บรรยายเรื่อง “Max Weber และจริยธรรมของทุนนิยม” -กิจกรรม “Weber Walk” (เชื่อมโยงชีวิตจริง) ให้นักศึกษาเขียน “1 วันของตัวเอง” ในรูปแบบ time log แล้ววิเคราะห์: “ในกิจกรรมประจำวันใดที่สะท้อนการใช้เหตุผลแบบ Weberian?” “เราอยู่ใน iron cage หรือไม่?” แชร์ในกลุ่มย่อย และร่วมเขียน “สังคมทุนนิยมในสายตาของนักศึกษา” ลงในกระดาน Jamboard/Padlet -อภิปรายกลุ่มใหญ่หัวข้อ “หาก Marx บอกว่าทุนนิยมทำให้แรงงานแปลกแยก Durkheim มองว่าทำให้สังคมเปลี่ยนความสัมพันธ์ ส่วน Weber กลับมองว่าความเชื่อทำให้ทุนนิยมเกิดขึ้น แล้วเรามองทุนนิยมว่าอย่างไร?” |
|
5-6 | ทุนนิยมและอารยธรรมตะวันตก | 6 |
|
- แจกเอกสารประกอบการเรียนการสอน “ทุนนิยมและอารยธรรมตะวันตก” Power Point พร้อมทั้งอัพโหลดสื่อวิดีโอสารคดีกรณีศึกษาและ Hand out สำหรับทำกิจกรรมในระบบ E-learning ของรายวิชา - สัปดาห์ที่ 5 บรรยายประกอบการใช้สื่อวิดีโอสารคดี หัวข้อบรรยาย“จากศาสนาโปรเตสแตนต์สู่ iron cage: เส้นทางของเหตุผลแบบตะวันตก”Weber กับ Protestant Ethic and Spirit of Capitalism Rationalization & Bureaucracy ความคิดแบบโลกวิสัย (secularism) กับระบบเศรษฐกิจ - แบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมกลุ่ม ชี้ประเด็นและข้อสังเกตร่วมกัน กิจกรรม “ไขรหัสวัฒนธรรมทุน” ให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม วิเคราะห์วาทกรรมที่แฝงในสิ่งของหรือวัฒนธรรมตะวันตก เช่น ปฏิทิน – เวลา, ธนาคาร – ความเชื่อมั่น, คัมภีร์ศาสนา – แรงจูงใจ, แฟชั่น – การบริโภค/สถานะ, - อาจารย์ร่วมอภิปรายและตั้งคำถามสำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติม“วัฒนธรรมเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งของ หรือเป็นเงื่อนไขทางสังคมที่หล่อเลี้ยงทุนนิยม?” -สัปดาห์ที่ 6 บรรยาบเปรียบเทียบทุนนิยม: ตะวันตก vs เอเชีย/อื่นๆ วัฒนธรรมอื่นๆ ไม่สามารถผลิตทุนนิยมได้หรือ? Weber อธิบายว่าเอเชียไม่มีทุนนิยมเพราะไม่มี rationality แบบโปรเตสแตนต์ การวิจารณ์ Weber จากนักวิชาการร่วมสมัย (เช่น Kenneth Pomeranz, Andre Gunder Frank) ตัวอย่างเสริม: พุทธทุนนิยม / ญี่ปุ่นยุคเมจิ / ทุนแบบอิสลาม ความรู้ทางเศรษฐกิจในจักรวรรดิอื่น ๆ (เช่น จีน, อินเดีย) -กิจกรรม “โต๊ะกลมเศรษฐกิจวัฒนธรรม”แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม (ตะวันตก / เอเชีย / อาหรับ / อาณานิคม) แต่ละกลุ่มศึกษา mini-case หรือบทความสั้น เช่น ญี่ปุ่น: ระบบธุรกิจ Keiretsu และจริยธรรมแบบชินโต ตะวันออกกลาง: ตลาดแบบสุค กับแนวคิด halal economy ยุโรป: Protestant work ethic กับการจัดระบบอุตสาหกรรม -ประชุมกลุ่มย่อยและนำเสนอ โดยให้แต่ละกลุ่มเตรียม โปสเตอร์วัฒนธรรมทุน และนำเสนอในห้องเรียน |
|
7-8 | ผลสืบเนื่องทางสังคมของระบบทุนนิยม | 6 |
|
- แจกเอกสารประกอบการเรียนการสอน –ตัวอย่างบทความวิจัยและบทความทางวิชาการ “ผลกระทบจากระบบทุนนิยม”พร้อมทั้งอัพโหลด Hand out สำหรับทำกิจกรรมในระบบ E-learning ของรายวิชา - สัปดาห์ที่ 7 บรรยาย“จากโรงงานถึงแพลตฟอร์ม: ทุนเปลี่ยนชีวิตเราอย่างไร?”การแยกแยะระหว่าง “เศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ” และ “เศรษฐกิจชีวิต” ตัวอย่าง: แรงงานแพลตฟอร์ม, gig economy, ชีวิตแบบไม่มีเวลาว่าง (24/7 capitalism) นำเสนอแนวคิดจาก Guy Standing (precariat) David Graeber (bullshit jobs) Arlie Hochschild (emotional labor) -กิจกรรม “ชีวิตในโลกทุน”จำลองชีวิตภายใต้ทุนนิยม: แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็น “ตัวละคร” ต่าง ๆ: คนขับแกร็บ พนักงานออฟฟิศ คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว แรงงานอุตสาหกรรม Content Creator จากนั้นให้ทุกกลุ่มวาด “แผนที่วันทำงาน” แล้วเขียนว่า: ใช้เวลา/ทรัพยากรอย่างไร? ความสุข/ความเหนื่อย/การควบคุมมาจากไหน?ใครได้เปรียบ? ใครเสียเปรียบ? - ชี้ประเด็นและข้อสังเกตร่วมกันอภิปราย-อาจารย์ร่วมอภิปรายและตั้งคำถามสำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติม - แบ่งกลุ่มเพื่อเตรียมทำกิจกรรมกลุ่ม ““ทุนกับความเปราะบางในชีวิตประจำวัน: กรณีศึกษาใกล้ตัว”” - สัปดาห์ที่ 8 “ทุนนิยม ความเหลื่อมล้ำ และสิ่งที่มองไม่เห็น” การกดทับของทุนนิยม: เพศ, ชาติพันธุ์, ชนชั้น, โลกที่สาม แนวคิดจาก Nancy Fraser, Silvia Federici, Jason Hickel หยิบประเด็น Feminist Critique / Postcolonial Economy -ชมคลิปประกอบ The True Cost (แฟชั่นกับแรงงานโลกที่สาม) และ Sorry We Missed You (ภาพยนตร์เกี่ยวกับแรงงานเดลิเวอรี) -แบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมกลุ่ม: “ทุนกับความเปราะบางในชีวิตประจำวัน: กรณีศึกษาใกล้ตัว” (เลือกหัวข้อ เช่น คนขับแกร็บในขอนแก่น / แม่ค้าตลาดนัด / แรงงานพาร์ตไทม์นักศึกษา) |
|
9-10 | แนวคิดสังคมวิทยาเชิงเศรษฐกิจร่วมสมัยเกี่ยวกับการทำให้ทันสมัยและการพัฒนา เช่น แนวคิดเสรีนิยมใหม่แนวคิด Becoming และ ความเสี่ยง | 6 |
|
สัปดาห์ที่ 9 บรรยายเรื่องเสรีนิยมใหม่และการพัฒนาแบบตลาด “จากรัฐสวัสดิการสู่การปัจเจกพึ่งตนเอง: เส้นทางของนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่” อธิบายหลักของ Neoliberalism: ตลาดเสรี, การถอนตัวของรัฐ, ประสิทธิภาพ, การแปรรูป ตัวอย่าง: นโยบายไทยแลนด์ 4.0, การศึกษารูปแบบแข่งขัน, Health as Business เชื่อมกับแนวคิดของ David Harvey, Wendy Brown, Jamie Peck - แบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมการค้นคว้าร่วมกันในแต่ละแนวคิด “การทำให้ทันสมัยและการพัฒนา เสรีนิยมใหม่ การกลายเป็น และความเสี่ยง” - นักศึกษานำเสนอผลการค้นคว้าแนวคิดสังคมวิทยาเชิงเศรษฐกิจร่วมสมัยแต่ละแนวคิด - ชี้ประเด็นและข้อสังเกตร่วมกันอภิปราย - อาจารย์ร่วมอภิปรายและตั้งคำถามสำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติม - นักศึกษาไปทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ - นักศึกษาเขียนสรุปประเด็นสำคัญในกระดานถามตอบของรายวิชา สัปดาห์ที่ื 10 บรรยายแนวคิด Becoming และสังคมแห่งความเสี่ยง “ชีวิตไม่เคยเสร็จสิ้น: การเป็นมนุษย์ในโลกแห่งการเปลี่ยนผ่าน” อธิบายแนวคิด Becoming (จาก Bourdieu และ Deleuze): ไม่มีความเป็นอยู่ที่คงที่ มีแต่กระบวนการเปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงกับแนวคิด “การลงทุนในตัวเอง” ของ Michel Foucault (self-enterprise) ต่อด้วย “Risk Society” (Ulrich Beck): สังคมที่ทุกคนต้องบริหารความเสี่ยงของตนเอง -ยกตัวอย่าง: การเรียนมหาวิทยาลัยเพื่อ “เพิ่มมูลค่า” การทำประกันสุขภาพ/การเก็บเงินเกษียณ ความไม่แน่นอนของอาชีพในยุคดิจิทัล -ชี้ประเด็นและข้อสังเกตร่วมกันอภิปราย |
|
11 | โลภาภิวัตน์และการศึกษาระบบเศรษฐกิจ | 3 |
|
- แจกเอกสารประกอบการเรียนการสอน “โลภาภิวัตน์และการศึกษาระบบเศรษฐกิจ” พร้อมทั้งอัพโหลด Hand out สำหรับทำกิจกรรมในระบบ E-learning ของรายวิชา -บรรยายแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ (Giddens, Appadurai, Harvey) เศรษฐกิจโลกหลังสงคราม → โลกาภิวัตน์ทางการผลิตและบริโภค การกระจุกตัวของทุน + การแบ่งงานระหว่างประเทศ Global North vs Global South -กิจกรรมเสริม: ให้นักศึกษาทำแผนที่ “ห่วงโซ่อุปทาน” (supply chain) ของสินค้า 1 ชิ้น เช่น iPhone, เสื้อผ้า, กาแฟ ระบุ: ประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบ / ประเทศผู้ประกอบ / ผู้บริโภค / ผู้ควบคุมแบรนด์ -ชี้ประเด็นและข้อสังเกตร่วมกันอภิปรายถามชวนคิด: “ใครเป็นเจ้าของ? ใครได้ค่าแรง? ใครควบคุมราคา?” - อาจารย์ร่วมอภิปรายและตั้งคำถามสำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติม - นักศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้จากกรณีศึกษา เขียนสรุปประเด็นสำคัญในกระดานถามตอบของรายวิชา -Case Discussion กรณีศึกษาให้เลือก โรงงานในบังคลาเทศ: กรณี Rana Plaza (แฟชั่นราคาถูก VS แรงงานราคาถูก) ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแอฟริกา กาแฟแฟร์เทรด (Fair Trade vs Free Trade) แรงงานข้ามชาติในอาเซียน (เช่น แรงงานเมียนมาในไทย) -นักศึกษาอภิปรายกลุ่มย่อยวิเคราะห์ว่า: ระบบเศรษฐกิจโลกเอื้อหรือกดทับใคร? มีใครที่ "มองไม่เห็น"? กลไกตลาดเพียงพอในการแก้ปัญหาหรือไม่? |
|
12 | วัฒนธรรมและการบริโภค | 3 |
|
- แจกเอกสารประกอบการเรียนการสอน Power Point กรณีศึกษาจากสื่อสิ่งพิมพ์หรืออีเลกทรอนิกส์ และสื่อวิดีโอสารคดีกรณีศึกษาในระบบ E-learning ของรายวิชา การบริโภคในมุมสังคมวิทยา” -บรรยาย แนวคิดของ Pierre Bourdieu: รสนิยม (taste), ทุนวัฒนธรรม, การบริโภคเพื่อแสดงชนชั้น Jean Baudrillard: การบริโภคเชิงสัญญะ (symbolic consumption) Zygmunt Bauman: “ผู้บริโภคคือพลเมืองยุคใหม่” และความเปราะบางของอัตลักษณ์ในโลกบริโภค -ยกตัวอย่างร่วมสมัย: TikTok trends, แบรนด์แฟชั่น, คาเฟ่ลัทธิมินิมอล -ชี้ประเด็นและข้อสังเกตร่วมกันอภิปราย “เราเลือกบริโภคของบางอย่างเพราะต้องการอะไร – ความคุ้มค่า ความหมาย หรือสถานะ?” -Debate / Role-play หัวข้อ “การบริโภคทำให้เรามีอิสรภาพ หรือทำให้เราต้องแข่งขันไม่รู้จบ?” วิธีการ แบ่งนักศึกษา 2 ฝั่ง ฝั่ง A: เห็นว่าการบริโภคคือทางเลือกเสรีของปัจเจก ฝั่ง B: เห็นว่าการบริโภคถูกครอบงำโดยสื่อ–ทุน–สังคม แต่ละฝั่งเสนอข้อคิดเห็น พร้อมยกตัวอย่างจากชีวิตจริง เช่น การไล่ตามกระแส / การโดน FOMO / เทรนด์ดารา / รีวิว Tiktok - มอบหมายให้นักศึกษาอ่านเอกสาร และอภิปรายสรุปการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในกระดานถามตอบของรายวิชา |
|
13 | ทุนทางสังคมในมิติของสังคมวิทยาเศรษฐกิจ | 3 |
|
- บรรยาย “Social Capital: ความสัมพันธ์เป็น ‘ทุน’ ได้อย่างไร?” แนวคิดของ Pierre Bourdieu: ทุนทางสังคม (network-based), ความไม่เท่าเทียมของทุน แนวคิดของ Robert Putnam: bonding vs bridging แนวคิดของ Woolcock & Narayan: linking social capital → ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ -แจก handout ให้เขียน "ทุนที่ฉันมีอยู่รอบตัว" → ให้นักศึกษาระบุรายชื่อ 5 คนที่เขาเชื่อถือ / ขอความช่วยเหลือได้ → วิเคราะห์ว่า เป็นทุนแบบไหน? ได้มาอย่างไร? มีผลทางเศรษฐกิจไหม? -Simulation Game “ถ้าฉันไม่มีคอนเนคชัน” สร้างสถานการณ์จำลอง เช่น ต้องสมัครทุน / หางาน / เริ่มธุรกิจ ให้นักศึกษาเลือกได้ว่า “จะใช้ทุนทางสังคมใครช่วย?” (จากตัวละครจำลอง) เปรียบเทียบกันในชั้นเรียน: ใครได้โอกาสมาก? ทำไมคนบางคนถึงถูกมองข้าม? - ชี้ประเด็นและข้อสังเกตร่วมกันอภิปราย - มอบหมายให้นักศึกษาอ่านเอกสาร และอภิปรายสรุปการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในกระดานถามตอบของรายวิชา |
|
14-15 |
การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนักศึกษา - สรุปผลการเรียนรู้และประเมินผลการสอน |
6 |
|
-นักศึกษานำเสนอผลการค้นคว้าประเด็นความรู้เกี่ยวกับสังคมวิทยาเศรษฐกิจ อภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในชั้นเรียน -ประเมินจากการนำเสนอชี้ประเด็นและข้อสังเกตร่วมกันอภิปราย กิจกรรมสรุปบทเรียน + ประเมินรายวิชา ช่วงที่ 1: สรุปบทเรียนแบบร่วมมือ (Collaborative Learning Wall) ให้นักศึกษาเขียน “Key Concept” หรือ “คำที่เปลี่ยนวิธีคิด” ลงกระดาษโพสต์อิท ติดไว้บนกระดาน “ผนังแห่งการเรียนรู้” → กลุ่มช่วยกันจัดหมวดแนวคิด เช่น ทุนนิยม | ความไม่เท่าเทียม | วัฒนธรรมการบริโภค | ทุนทางสังคม | ความเปราะบาง ถามชวนคิด: “ถ้าให้ถ่ายทอดให้รุ่นน้อง คุณจะสรุปวิชานี้ว่าอะไรสำคัญที่สุด?” ช่วงที่ 2: กิจกรรมสะท้อนคิดส่วนบุคคล (Self-Reflection) คำถาม ความเข้าใจของฉันเปลี่ยนไปอย่างไรจากสัปดาห์แรกถึงวันนี้? แนวคิดไหนที่กระทบใจที่สุด และทำไม สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเพื่อนหรือกิจกรรมกลุ่ม คำถามที่ยังอยากหาคำตอบต่อไป ช่วงที่ 3: แบบประเมินวิชา + ข้อเสนอแนะ แบบฟอร์ม Google Form / กระดาษ / Mentimeter คำถาม วิชานี้มีส่วนช่วยให้ฉันเข้าใจเศรษฐกิจในชีวิตอย่างไร? กิจกรรมใดที่มีประโยชน์มากที่สุด / น้อยที่สุด อยากปรับปรุงอะไรในครั้งหน้า? อาจารย์สอนแบบไหนที่นักศึกษาชอบ? |
|
รวมจำนวนชั่วโมง | 45 | 0 |
8. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
Course assessment
Course assessment
วิธีการประเมิน Assessment Method |
CLO |
สัดส่วนคะแนน Score breakdown |
หมายเหตุ Note |
---|---|---|---|
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน อภิปราย ตอบคำถาม และร่วมกิจกรรม งานเดี่ยว งานกลุ่ม |
|
40 | นักศึกษาส่งใบงาน และบันทึกการค้นคว้าด้วยตนเอง ร่วมกับการอภิปราย แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ผ่านระบบของรายวิชา |
การเขียนรายงานผลการศึกษาประเด็นความรู้เกี่ยวกับสังคมวิทยาเศรษฐกิจ |
|
30 | นักศึกษารายงานความก้าวหน้าและต้องนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนักศึกษาในสัปดาห์ที่กำหนด |
สอบปลายภาค |
|
30 | |
สัดส่วนคะแนนรวม | 100 |
9. ตําราและเอกสารประกอบการสอน
Textbook and instructional materials
Textbook and instructional materials
ประเภทตำรา Type |
รายละเอียด Description |
ประเภทผู้แต่ง Author |
ไฟล์ File |
---|---|---|---|
หนังสือ หรือ ตำรา | Alejandro Portes. (1995). “Economic Sociology and the Sociology of Immigration: A Conceptual Overview.” Pp. 1-41. in The Economic Sociology of Immigration, edited by Alejandro Portes. New York: Russell Sage Foundation. | ||
หนังสือ หรือ ตำรา | Bruno Amable. (2003). Diversity of Modern Capitalism. Oxford: Oxford University Press | ||
หนังสือ หรือ ตำรา | Harvey, David. (2005). A Brief History of Neoliberalism. University of Chicago Center for International Studies Beyond the Headlines Series. | ||
หนังสือ หรือ ตำรา | Neil J. Smelser and Richard Swedberg. (2005). “Introducing Economic Sociology.” Pp. 3-26 in The Handbook of Economic Sociology, second edition, edited by Neil J. Smelser and Richard Swedberg. New York and Princeton: Russell Sage Foundation and Princeton University Press. | ||
หนังสือ หรือ ตำรา | Paul DiMaggio and Hugh Louch. (1998). “Socially Embedded Consumer Transactions: For What Kinds of Purchases Do People Most Often Use Networks?”. American Sociological Review 63: 619-637 | ||
หนังสือ หรือ ตำรา | Peter Evans. (1995). Embedded Autonomy. Princeton: Princeton University Press. | ||
หนังสือ หรือ ตำรา | Pierre Bourdieu. (2005). The Social Structures of the Economy. Polity Press. | ||
หนังสือ หรือ ตำรา | Richard Swedberg. (2003). Principles of Economic Sociology. Princeton: Princeton University Press | ||
หนังสือ หรือ ตำรา | Thomas Piketty. (2013). Capital in the 21st Century. Harvard University Press. | ||
หนังสือ หรือ ตำรา | Viviana Zelizer. (2005). “Culture and Consumption.” Pp. 331-354 in The Handbook of Economic Sociology, second edition, edited by Neil J. Smelser and Richard Swedberg. New York and Princeton: Russell Sage Foundation and Princeton University Press. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Alejandro Portes. (1998). “Social Capital: Its Origins and Applications in Modern Sociology.” Annual Review of Sociology 24: 1-24. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Arlie Russell Hochschild. (2003). The Commercialization of Intimate Life. Berkeley: University of California Press. Pp. 30-44, 185-197. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Daniel Miller. (1998). A Theory of Shopping. Ithaca: Cornell University Press. Pp. 1-49. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | James Coleman. (1988). “Social Capital in the Creation of Human Capital.” American Journal of Sociology 94(suppl.):S95–S120. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Jennifer Lee. (2002). “From Civil Relations to Racial Conflict: MerchantCustomer Interactions in Urban America.” American Sociological Review 67 (1): 77-98. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Joel Podolny and James N. Baron. (1997). “Resources and Relationships: Social Networks and Mobility in the Workplace.” American Sociological Review 62: 673-693. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Nan Lin, Walter Vaughn, and John Ensel. (1981). “Social Resources and Strength of Ties.” American Sociological Review 46(4) :393–405. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Omar Lizardo. (2006). “Cultural Tastes and Personal Networks.” .American Sociological Review 71: 778-807. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Pierre Bourdieu. (1984). Distinction. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. Introduction, pp. 1-7. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Ronald Burt. (1997). “The Contingent Value of Social Capital.” Administrative Science Quarterly 42: 339-65. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Ronald S. Burt. (1998). “The Gender of Social Capital.” Rationality and Society 10(1): 5-46. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Roberto Fernandez, Emilio Castilla, and Paul Moore. (2000). “Social Capital at Work: Networks and Employment at a Phone Center.” American Journal of Sociology 105(5): 1288-1356. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Steven Durlauf. (2002). “On the Empirics of Social Capital.” The Economic Journal 112(483): F459-79. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | Thornstein Veblen. (1994 [1899]). “Conspicuous Consumption.” Chapter 4 in The Theory of the Leisure Class. New York: Dover. | ||
บทวิจัย หรือบทความวิชาการ | ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย. (2549).สังคมวิทยาเศรษฐกิจ-การบูรณาการวิชาเศรษฐศาสตร์ วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 1 (ฉบับปฐมฤกษ์), 43-56. | ||
แอพพลิเคชั่น/เว็บไซต์ | https://en.wikipedia.org/wiki/Economic_sociology | ||
แอพพลิเคชั่น/เว็บไซต์ | http://econsoc.mpifg.de/ |
10. การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
ผลการเรียนรู้
Curriculum mapping
Curriculum mapping
1.1 | 1.2 | 1.3 | 1.4 | 2.1 | 2.2 | 2.3 | 2.4 | 3.1 | 3.2 | 4.1 | 4.2 | 4.3 | 4.4 | 5.1 | 5.2 | 5.3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
1. ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3 มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
1.4 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและการแสดงออกซึ่งความมีคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
2. ด้านความรู้
2.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
2.2 มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ/วิชาชีพในสถานการณ์ต่างๆได้
2.3 มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการใหม่ๆ ในสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทางสังคม
2.4 ตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับในสาขาวิชาทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และมีความหลากหลายในการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถค้นหา ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้และการแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนในการแก้ปัญหาการทำงานได้จริง
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีภาวะผู้นำ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม
4.2 รู้ความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและเข้าใจหลักการในสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเพื่อการปรับตัวในการทำงานและการอยู่รวมกับผู้อื่น
4.4 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนได้อย่างเหมาะสม
5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาได้
5.2 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในด้านวิชาการได้
5.3 ความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การใช้ภาษาในหลากหลายทักษะ ทั้งด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และสามารถถ่ายทอดสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ