รายละเอียดรายละเอียดของรายวิชา
สถานะ
Status
หลักสูตร
Academic Program
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
Bachelor of Arts
สาขาวิชา
Field
สาขาวิชาสังคมศาสตร์
Social Sciences
วิชาเอก
Major
หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.
2561
ภาค/ปีการศึกษา
Semester/Academic Year
1 / 2566
1. รหัส ชื่อรายวิชา/ชุดวิชา และจำนวนหน่วยกิต
Course Code and Number(s) of Credits
Course Code and Number(s) of Credits
2. ประเภทของรายวิชา/ชุดวิชา และหลักสูตร
Type of the Subject Course
Type of the Subject Course
3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอน
Course Coordinator and Lecturer
Course Coordinator and Lecturer
4. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา/ชุดวิชา
Course learning outcomes-CLO
Course learning outcomes-CLO
5. คําอธิบายรายวิชา / ชุดวิชา
Description of Subject Course/Module
Description of Subject Course/Module
6. รูปแบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้
Delivery mode and Learning management Method
Delivery mode and Learning management Method
7. แผนการจัดการเรียนรู้
Lesson plan
Lesson plan
สัปดาห์ที่ Week |
หัวข้อการสอน Teaching topics |
จํานวน ชั่วโมง Number of hours |
CLO |
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/ เอกสารและช่องทางการสอน Teaching and Learning Activities, Instructional Media/ Materials, and Teaching Channels |
|
---|---|---|---|---|---|
ทฤษฎี | ปฏิบัติ | ||||
1 | - แนะนำรายวิชา ตกลงการเรียนการสอน และชี้แจงเกี่ยวกับรายวิชา วิธีการเรียน การแบ่งกลุ่ม และการประเมินผล | 3 |
|
1. อาจารย์พบนักศึกษาเพื่อชี้แจงและแนะนำการเรียนและการส่งงานผ่านออนไลน์ผ่านระบบ KKU e-Learning และอธิบายประมวลรายวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้ พร้อมกับอภิปรายและตกลงรูปแบบการประเมินร่วมกัน 2. อาจารย์บรรยายขอบข่ายความรับผิดชอบลักษณะรายวิชาและรายงานเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ผ่าน VDO clips 3. ยกตัวอย่างชิ้นงานที่ผ่านมาซึ่งเป็นผลลัพธ์ของรายวิชาเป็นไฟล์ PDF ให้นักศึกษาเข้าไปดูในระบบ KKU e-Learning 4. แนะนำเอกสาร สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเรียนการสอน และเพื่อการค้นคว้าด้วยตนเองของนักศึกษา โดยส่งลิงค์ให้นักศึกษาเข้าไปดูในระบบ KKU e-Learning 5. ตอบข้อซักถามของนักศึกษา |
|
2 |
บทที่ 1 บทนำ แนวคิดเกี่ยวกับขอบข่ายของโลกาภิวัตน์กับสังคมโลก 1.1 ความหมาย แนวคิดและข้อถกเถียงเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ในสังคมโลกปัจจุบัน 1.2 ความสัมพันธ์ของโลกาภิวัตน์กับสังคมโลก 1.3 กระบวนการแห่งโลกาภิวัตน์ |
3 |
|
- แจกเอกสารรายละเอียดของรายวิชา - บรรยายและอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น - แนะนำความรู้พื้นฐาน ประเด็นโลกาภิวัตน์กับสังคมโลก |
|
3 |
บทที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ด้านเศรษฐกิจและสังคม 2.1 แนวคิดโลกาภิวัตน์ในมิติเศรษฐกิจและสังคม 2.2 โลกาภิวัตน์กับการเปลี่ยแปลงของการเมืองเศรษฐกิจโลก 2.3 ภูมิภาคาวิภิวัตน์ ภูมิภาคนิยม กับองค์การฯ และความร่วมมือระดับภูมิภาคในโลก |
3 |
|
- ร่วมกันอภิปราย บทความที่ให้ในคาบเรียนที่แล้ว และเน้นการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) - บรรยายและอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น |
|
4 |
บทที่ 3 แนวคิดเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ทางด้านวัฒนธรรม 3.1 แนวคิดโลกาภิวัตน์มิติทางด้านวัฒนธรรม 3.2 การทำวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า |
3 |
|
- มอบหมายงานกิจกรรมกลุ่มให้ศึกษาในชั้นเรียน - อภิปรายและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม |
|
5 |
บทที่ 4 รูปแบบของโลกาภิวัตน์ในสังคมสมัยใหม่ 4.1 บทบาทใหม่แห่งสื่อในยุคโลกาภิวัตน์ 4.2 อิทธิพลการสื่อสารในยุคสมัยใหม่ |
3 |
|
- อภิปรายและการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม - มอบหมายให้ นักศึกษาสังเคราะห์ ความรู้และอภิปรายสรุปประเด็นสำคัญ |
|
6 |
บทที่ 5 เพศสภาพกับความไม่เป็นธรรมทางเพศในภาวะโลกาภิวัตน์ 5.1 สตรีเพศกับการจ้างงาน 5.2 ความไม่เป็นธรรมและความรุนแรงต่อสตรี |
3 |
|
-บรรยาย อภิปราย งานที่ไปศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อน - โดยนักศึกษามี ส่วนร่วมในการ อภิปรายแสดงความคิดเห็นและค้นคว้าด้วยตัวเองได้ |
|
7 |
บทที่ 6 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกาภิวัตน์กับท้องถิ่นนิยม 6.1 พัฒนาการทางแนวคิดท้องถิ่นนิยม 6.2 ปฏิสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่นกับภาวะโลกาภิวัตน์ |
3 |
|
- โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการ อภิปรายแสดงความคิดเห็นและค้นคว้าด้วยตัวเองได้ - มอบหมายงานกิจกรรมกลุ่มให้ศึกษา อภิปรายและการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม |
|
8 |
บทที่ 7 การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในยุคโลกาภิวัตน์และอิทธิพลต่อสังคม 7.1 การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ 7.2 ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ |
3 |
|
- อภิปรายและสรุปประเด็นจากการอ่าน บทความและ วิเคราะห์ประกอบ เนื้อหาสาระ - การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง |
|
9 |
บทที่ 8 การท่องเที่ยวในบริบทโลกาภิวัตน์ 8.1 การขยายตัวทางการท่องเที่ยวในโลกาภิวัตน์ปัจจุบัน 8.2 ผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในโลกาภิวัตน์ |
3 |
|
- บรรยาย อภิปรายและสรุปประเด็นจากการอ่าน บทความและ วิเคราะห์ประกอบเนื้อหาสาระ - การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง |
|
10 |
บทที่ 9 ภาคประชาสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ 9.1 ขบวนการประชาสังคมในสังคม 9.2 ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมกับภาคประชาสังคม 9.3 การสร้างความเข้มแข็งในภาคประชาสังคมของประเทศไทย |
3 |
|
-อภิปราย สรุปประเด็นจากการอ่าน บทความวิชาการและ วิเคราะห์ประกอบเนื้อหาสาระ -การศึกษาค้นคว้า ด้วยตัวเอง |
|
11 |
บทที่ 10 สังคมความเสี่ยงยุคโลกาภิวัตน์ 10.1 สังคมความเสี่ยงในปัจจุบัน 10.2 การแพร่กระจายการใช้ยาเสพติดในยุคโลกาภิวัตน์ 10.3 ความเสี่ยงในเรื่องการระบาด 10.4 ความเสี่ยงทางด้านสาธารณสุขและสุขภาวะ |
3 |
|
- บรยาย อภิปราย และเน้นการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียน -การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง - โดยนักศึกษามี ส่วนร่วมในการ อภิปรายแสดงความคิดเห็นและค้นคว้าด้วยตัวเองได้ |
|
12 |
บทที่ 11 โลกาภิวัตน์กับการจัดการสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีพในสังคมสมัยใหม่ 11.1 การเปลี่ยนแปลงและปัญหาสิ่งแวดล้อมในสังคมปัจจุบัน 11.2 การปรับตัวในการดำรงชีพของชุมชนในสังคมสมัยใหม่ |
3 |
|
- อภิปราย การ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและนำเสนอผลการศึกษา -วิเคราะห์ในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีพที่เกิดขึ้นในสังคมโลกาภิวัตน์ปัจจุบัน |
|
13 |
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลงวิถีการบริโภคในสังคมโลกาภิวัตน์ 12.1 การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางความคิดเรื่องการบริโภคในสังคมปัจจุบัน |
3 |
|
-อภิปรายแสดง ความคิดเห็น วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวิถีการบริโภคในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในสังคม | |
14 |
บทที่ 13 ผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจในโลกาภิวัตน์ต่อการจ้างงานและแรงงานข้ามชาติ 13.1 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและแรงงานในโลกาภิวัตน์ 13.2 กรณีศึกษา การย้ายถิ่นข้ามชาติของแรงงานต่างชาติ |
3 |
|
-บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปรายแสดง ความคิดเห็น และ สังเคราะห์กรณีศึกษาในประเด็นการเปลี่ยนแปลงการย้ายถิ่นข้ามชาติของแรงงานข้ามชาติ | |
15 |
บทที่ 14 สรุปและสังเคราะห์องค์ความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ 14.1 สรุปทางความคิดในประเด็นเกี่ยวกับภาวะโลกาภิวัตน์ |
3 |
|
-นำเสนองาน และอภิปรายในหัวข้อที่ไปศึกษาค้นคว้า -ร่วมแสดงความคิด เห็น วิเคราะห์ และ สังเคราะห์นัยทางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเด็นปัจจุบัน |
|
รวมจำนวนชั่วโมง | 45 | 0 |
8. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
Course assessment
Course assessment
วิธีการประเมิน Assessment Method |
CLO |
สัดส่วนคะแนน Score breakdown |
หมายเหตุ Note |
---|---|---|---|
สอบกลางภาค |
|
30 | |
สอบปลายภาค |
|
30 | |
งานกลุ่ม -รายงานผลงานทางวิชาการที่ได้ศึกษาจากงานทางวิชาการอย่างสรุป พร้อมทั้งวิจารณ์กับเนื้อหาสาระและข้อมูล/ข้อค้นพบดังกล่าว/วิพากษ์โต้แย้ง ในประเด็นเกี่ยวกับภาวะโลกาภิวัตน์ (โดยการประเมินคุณภาพเนื้อหารายงาน 15%) จากความลึกซึ้งของการวิเคราะห์ ทั้งเนื้อหา ความทันสมัยของเอกสารที่ใช้ในการทบทวน คุณภาพการเรียบเรียง การส่งงานตรงต่อเวลา และการนำเสนอ 5% -สรุปมาไม่เกิน 15 หน้า A4 ส่งรายงานตามกำหนดที่มีการตกลงไว้กับอาจารย์ผู้สอน การส่งช้ากว่ากำหนด จะถูกหักคะแนนส่วนคุณภาพรายงาน 3 %) |
|
20 | |
งานเดี่ยว งานสรุปวิเคราะห์และสังเคราะห์สื่อด้านโลกาภิวัตน์ |
|
10 | |
การการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน โดยมาเรียนสม่ำเสมอ มีส่วนร่วมในการตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนในการเรียนแต่ละครั้งอย่างสม่ำเสมอมีส่วนร่วมในชั้นเรียน อภิปราย ตอบคำถาม และร่วมกิจกรรม |
|
10 | |
สัดส่วนคะแนนรวม | 100 |
9. ตําราและเอกสารประกอบการสอน
Textbook and instructional materials
Textbook and instructional materials
ประเภทตำรา Type |
รายละเอียด Description |
ประเภทผู้แต่ง Author |
ไฟล์ File |
---|---|---|---|
หนังสือ หรือ ตำรา |
ตำราและเอกสารหลัก กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง กับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์. เกษียร เตชะพีระ. (2538). วิวาทะโลกานุวัตร์. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ. ฉันทนา บรรพศิริโชติ และสุริชัย หวันแก้ว (บก.การแปล). (2539). ศัพท์การพัฒนา: คู่มือความรู้สู่อำนาจ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีรยุทธ บุญมี. (2538). วิกฤติมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : วัลยา. พงษ์เทพ สันติกุล. (2549). จุดกำเนิดรัฐสวัสดิการในสยาม. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคม สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์. ภัสสร ลิมานนท์ และคณะ. (2539). สรปุผลวิจัยเบื้องต้น โครงการศึกษาครอบครัวไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภูษณ ปรีย์มาโนช. (2544). ฝ่าหนามกุหลาบโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : ภัคธรรศ. มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2552). โลกาภิวัตน์: อานิสงส์ถ้วนหน้า?. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ยุค ศรีอาริยะ. (2539). โลกาวิวัฒน์ 2000. กรุงเทพฯ : ไอโอนิค อินเตอร์เทรด รีซอสเซส. ยุค ศรีอาริยะ. (2541). มายาโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์. รุจา ภู่ไพบูลย์ และนิตยา คชภักดี. (2539). การเปลี่ยนแปลงลักษณะครอบครัวไทย : ผลกระทบต่อความผาสุกของครอบครัว เอกสารประกอบการสัมมนาวิจัย เรื่อง ครอบครัวศึกษา : การวิจัยเพื่อความผาสุกของครอบครัวไทย. ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 1 พฤศจิกายน 2539 ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร. รุจา ภู่ไพบูลย์, จริยา วิทยะศุภร และ ศิริวรรณ ไกรสุรพงศ์. (2542). ผลกระทบของภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว และความต้องการความช่วยเหลือ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. วัฒนา สุกัณศีล. (2548). โลกาภิวัตน์ = Globalization. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์. (บรรณาธิการ). (2544). ทฤษฎีและความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : วิถีทรรศน์, สามชาย ศรีสันต์. (2541). ความเป็นปึกแผ่นในความสัมพันธ์ระหว่างบุตรผู้เป็นแรงงานย้ายถิ่นกับ บิดามารดา : การศึกษาตามแนวทฤษฎีการแลกเปลี่ยน. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สาขาสังคมวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สังศิต พิริยะรังสรรค์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (บรรณาธิการ). (2538). โลกาภิวัตน์กับสังคมเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภางค์ จันทวานิช. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุริชัย หวันแก้ว. (2543). โลกาภิวัตน์กับแก่นสารของสังคมวิทยา. วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 12(2): 15-42. สุริยา สมุทคุปติ์ พัฒนา กิติอาษา. (2542). มานุษยวิทยากับโลกาภิวัตน์ : รวมบทความ = Anthropology and globalization : Thai experiences. นครราชสีมา : ห้องไทยศึกษานิทัศน์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. อุไรวรรณ ธนสถิตย์. (2546). สังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์ : อำนาจ การเมือง และสังคม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. Bryjak, G. J., and M. P. Soroka. (2001). Sociology: Changing Societies in a diverse World. 4th edition. USA: Allyn and Bacon. Cohen, Daniel. (2007). Globalization and its enemies. Translated by Jessica B. Baker. Cambridge: The MIT Press. Cohen, Robin, and Paul Kennedy. (2007). Global Sociology. 2nd edition. New York: Palgrave Macmillan. Dirlik, Arif. “Globalization as the End and the Beginning of History: The Contradictory Implications of a New Paradigm.” http://www.humanities.mcmaster.ca/~global/workpapers/dirlik.pdf. Giddens, A. (1992). Modernity and Self Identity: Self and Society in the Late Modern Age. Cambridge: Polity Press. Giddens, A. (2006). Sociology. 5th edition. Cambridge: Polity Press. Giddens, A.; Mitchell Duneier and Richard P. Appelbaum. (2006). Essentials of Sociology. New York: W.W. Norton and Company. Jan Aart Scholte. (2005). The Sources of Neoliberal Globalization. Switzerland : This United Nations Research Institute for Social Development (UNRISD). John B.Thomson. (1990). Ideology and Modern Culture, Critical Social Theory in the Era of Mass Communication. Cambridge: Policy Press. Mandle, Jay R. (2003). Globalization and the Poor. Cambridge: Cambridge University Press. Robertson, Roland. (1992). Globalization: Social Theory and Global Culture. London: Sage Publication. Scholte JA. (2000). Globalisation: A Critical Introduction. Palgrave. |
อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัย |
10. การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
Course evaluation and Plan for Teaching Improvement
ผลการเรียนรู้
Curriculum mapping
Curriculum mapping
1.1 | 1.2 | 1.3 | 1.4 | 2.1 | 2.2 | 2.3 | 2.4 | 3.1 | 3.2 | 4.1 | 4.2 | 4.3 | 4.4 | 5.1 | 5.2 | 5.3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายละเอียดของผลการเรียนรู้ของแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
1. ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2 มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3 มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
1.4 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและการแสดงออกซึ่งความมีคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
2. ด้านความรู้
2.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาสังคมศาสตร์
2.2 มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ/วิชาชีพในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
2.3 มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการใหม่ๆ ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทางสังคม
2.4 ตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับในสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และมีความหลากหลายในการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถค้นหา ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้และการแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ
3.2 สามารถคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนในการแก้ปัญหาการทำงานได้จริง
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 มีภาวะผู้นำ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
บนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม
4.2 รู้ความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและเข้าใจหลักการในสาขาวิชาสังคมสาสตร์เพื่อการปรับตัวในการทำงานและการอยู่รวมกับผู้อื่น
4.4 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนได้
อย่างเหมาะสม
5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ได้
5.2 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในด้านวิชาการได้
5.3 ความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การใช้ภาษาในหลากหลายทักษะ ทั้งด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และสามารถถ่ายทอดสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ